การปรับปรุงกระบวนการและลดระยะเวลาการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงรถยนต์ในเวลา 60 นาที (Express maintenance plus 60 : EM60) The improvement of the process and reduction of service time of the express maintenance plus 60 process (em60)

Main Article Content

ภณทัต ใจกล้า
กุมภา คำศรี
อรนิชา ทรัพยสาตร์
ชัยยศ ดำรงกิจโกศล

บทคัดย่อ

ทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการและลดระยะเวลาการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ในเวลา 60 นาทีของศูนย์บริการยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้หลักการของคิวซีสตอรี่มาปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งงานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอนได้แก่       1) การศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานเช็คระยะตามโปรแกรมการซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ใน 60 นาที (EM60) 2) การตรวจวัดเวลาปฏิบัติงานจริงก่อนการปรับปรุง 3) การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้แผงผังปัญหาก้างปลา 4) การกำหนดแนวทางแก้ไขและการปรับปรุงการปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐาน 5) การตรวจวัดเวลาในการปฏิบัติงานจริงหลังจากการปรับปรุง และ 6) การเปรียบเทียบเวลาการปฏิบัติงานก่อนและหลังการปรับปรุง


ผลการวิจัยพบว่า เวลาเฉลี่ยของการปฏิบัติงานก่อนการปรับปรุงการปฏิบัติงานซ่อม Express maintenance ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 63.49 นาที มากกว่าเวลามาตรฐานที่กำหนดไว้ (60นาที) เท่ากับ 3.49 นาที โดยจากการวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานพบ 5 ปัญหาหลัก ได้แก่ พนักงาน กระบวนการทำงาน เครื่องมือ การจ่ายอะไหล่ และสถานที่ ซึ่งหลังจากการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน พบว่าเวลาการปฏิบัติงานซ่อม Express maintenance หลังการปรับปรุงใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 53.42 นาที ซึ่งต่ำกว่าที่มาตรฐานกำหนดที่กำหนดไว้ (60 นาที)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

สมชาย กิจเกิดแสง และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจตัวแทนจำหน่าย

รถยนต์. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1. หน้าที่ 93-106.

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. (2565). [ออนไลน์]. บริการซ่อมทั่วไป.

[สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565]. จาก https://aftersales.toyota.co.th/general_service

ฒนิจ ด้วงอำ นาเรต พิมพ์จันทร์ อ้อมใจ ทองยศ ยงยุทธ พรมบุตร และศุภกร สิญจวัตร์. การสร้างและหา

ประสิทธิภาพเครื่องเติมน้ำมันเกียร์ CVT แบบรีโมทคอนโทรล. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบัน

การอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. ปีที่ 6 ฉบับที่ 11. หน้าที่ 154-166.

จิรโรจน์ วิเชียนเพริศ และ ชัยพร คล้ายกมล. การพัฒนารอกยกเครื่องยนต์สำหรับการซ่อมเครื่องยนต์ส่วนหน้ารถ. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. ปีที่ 3 ฉบับที่ 5. หน้าที่ 132-142.

บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. (2565). [ออนไลน์]. ตารางการบำรุงรักษาตามระยะสำหรับ

Fortuner 3.0V 4WD 2011. [สืบค้นเมื่อ 6 กรกฏาคม 2565]. จาก

https://aftersales.toyota.co.th/maintenance_lookup_all_duration?model=452&type=n

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. (ม.ป.ป.). ทฤษฏีขั้นตอนการดำเนินงานเช็คระยะ Express

maintenance (EM). (ม.ป.ท.)

กิตติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2557). TQM : การบริหารเพื่อคุณภาพโดยรวม. กรุงเทพฯ :

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

นริศ สาวะจันทร์. (2560). การลดเวลานําในการตรวจผลิตภัณฑ์ก่อนส่งมอบ. การค้นคว้าอิสระปริญญา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม. คณะวิศวกรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สฤษดิ์ โตโพธิ์กลาง. (2559). การศึกษาการลดเวลาในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเครื่อง

ปรับอากาศที่สูงขึ้นของบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร.

งานนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์.

มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรคมงคล จันฤาไชย. (2556). การประยุกต์การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยคิวซีสตอรี่ กรณีศึกษา.

สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบัน

เทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

ธารชุดา พันธ์นิกุล ดวงพร สังฆะมณี และ ปรีดาภรณ์ งามสง่า. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพใน

กระบวนการผลิตด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษา: โรงงานประกอบรถจักรยาน.

การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2557. หน้าที่ 227-234.