การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษา ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

Main Article Content

Nuttapon Iamsakulnin

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 (จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และสุโขทัย) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 และ 3 จำนวน 538 คน และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 และ 2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 916 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้รับการตอบกลับมาสมบูรณ์จำนวน 540 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับ ร้อยละ 34.39 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


                ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของผู้เรียน ด้านผู้เรียน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ด้านครูผู้สอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 นอกจากนี้พบว่าการเรียนการสอนแบบออนไลน์  การเรียนการสอนในชั้นเรียน การเรียนการสอนแบบผสมผสาน  มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 อีกด้วย


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์ และคณะ. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด– 19 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รูปแบบการจัดการเรียน การสอนแบบใหม่ในสถานการณ์โควิด 5 รูปแบบ. กระทรวงศึกษาธิการ.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. (2563).

บทเรียนออนไลน์ สำหรับนักเรียนและประชาชน.

วนิดา ปณุปิตตา. (2561). การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนบงใต้โนนรังพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

ณิศศา ณภาส์ณัฐ. (2558). สภาพแวดล้อมสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. น.6.

สุรศักดิ์ อรรถจินดา. (2563). การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั่วไป และภายใต้สถานการณ์ COVID–19 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. น.9.

Bloom et al. (1976). Human Charachteristic and School Learning.

New York: McGraw-Hill.

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, ภูริสร์ ฐานปัญญา และเกรียงไกร สัจจะหฤทัย.

(2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21, น.217.

Mehrens, W. A. L., & Lehmann, I. J. (1976). Measurement and evaluation in

education and psychology. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Inc

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). เรื่อง รายงานประจำปี 2563

ของสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ.2564.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S, 2001, Marketing Research. New York: John Wiley and Sons.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. เอกสารประกอบการสอน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. หน้า 19.

Nunnally. J. C., and Bernstein. I. R. (1994). Psychometric in Theory. (3rd

ed.). New York: McGraw Hill.

Black. K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. USA: John Wiley and Son. pp. 585.

พรพรรณ แก้วฝ่าย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

โรงเรียนบ้านห้วยชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. น.8.

โยธิน ศิริเอ้ย. (2559). ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการงานกิจการ

นักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย. น.3.