การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมของนักเรียน วิทยาลัยเทคนิคพังงา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur DEVELOPMENT OF INNOVTION-BASED ENTREPRENEURSHIP SKILLS OF VOCATION STUDENTS PHANG NGA TECHNICAL COLLEGE BY USING STEAM FOR INNOPRENELLEARNING MANAGEMENT

Main Article Content

ประทิน เลียนจำรูญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur 2)  เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur ให้มีความเหมาะสม 3)  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur 4)  เพื่อศึกษาผลจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur  และ 5) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้แบบการ : STEAM for Innopreneur รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้  2) แบบประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้  3) แบบประเมินทักษะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม 4) แบบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test One Sample Group


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneurมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน 2) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ: STEAM for Innopreneur ให้มีคุณภาพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564   พบว่ามีประสิทธิภาพ 83.11/83.16 4) ผลการนำไปใช้จริง (Implement) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ : STEAM for Innopreneur ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 พบว่า มีประสิทธิภาพ 85.68/84.25  และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ฯ  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด


5) ผลการศึกษาผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ฯ  พบว่า นักเรียนมีผลงานที่ได้เข้ารับการนำเสนอผลงานนวัตกรรมในระดับนานาชาติ รวมจำนวน 56 ผลงาน และได้รับรางวัลจากผลงานในการประกวดต่าง ๆ จำนวน 10 รางวัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กมลฉัตร กลอมอิ่ม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูฐานสมรรถนะประยุกต ใช้ศาสตร์พระราชาบนพื้นฐานอัตลักษณพื้นถิ่นเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาการจัดการเรียนรู สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(6), 2555-2569.

สมพร ปานดำ. (2564). การพัฒนามาตรฐานช่างอุตสาหกรรมสู่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ. วารสารวิชาการ T – VET JOURNAL, 4-29.

Balita, Carl E. (2015). INNOPRENEUR above SEE level. Paper presentedat the National and International of Busiess and Management in innovation 2015, Khon Kaen, Thailand.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). STEAM4INNOVATOR. กรุงเทพฯ

สัญญา เคณาภูมิ, 2562, “หลักการและแนวทางการ สังเคราะห์งานวิชาการ”, วารสารการบริหารการ ปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม), หน้า 89-106.

นลินรัตน์ รักกุศล. (2561). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็น ผู้ประกอบการทางสังคมของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชา อุตสาหกรรม.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1930-1944.

อลิสา เสนามนตรี. (2551). การพัฒนานวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบสื่อ ประสมเรื่อง ชีวโมเลกุลด้วยรูปแบบการบูรณาการสำหรับนักเรียนระดับชวงชั้นที่ 4. (ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วรัตถ์พัชร์ ทวีเจริญกิจ, และ วิชิต สุรัชเรืองชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้. วารสารราชพฤกษ์, 17(1), 2562.