การพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมของนักเรียน วิทยาลัยเทคนิคพังงา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสร้าง ผู้ประกอบการนวัตกรรม

Main Article Content

Pratin Lainjumroon

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมให้มีคุณภาพ และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมกับเกณฑ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 38 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)   เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test One Sample Group


            ผลการวิจัยพบว่า


  • แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

  • สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2563). การออกแบบนโยบายและแผน. [online]. https://www.itd.or.th/itd-research/international-trade-gms-sdgs/. เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2565

ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำจังหวัด. (2564). คู่มือการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ กระทรวงศึกษาธิการประจำจังหวัด. [online]. http://www.nkpc.ac.thCEC_9082021-new.pdf. เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565

กมลฉัตร กลอมอิ่ม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูฐานสมรรถนะประยุกต ใช้ศาสตร์พระราชาบนพื้นฐานอัตลักษณพื้นถิ่นเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาการจัดการเรียนรู สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์, 9(6), 2555-2569.

สมพร ปานดำ. (2564). การพัฒนามาตรฐานช่างอุตสาหกรรมสู่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ. วารสารวิชาการ T – VET JOURNAL, 4-29.

Balita, Carl E. (2015). INNOPRENEUR above SEE level. Paper presentedat the National and International of Busiess and Management in innovation 2015, Khon Kaen, Thailand.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). STEAM4INNOVATOR. กรุงเทพฯ

นลินรัตน์ รักกุศล. (2561). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็น ผู้ประกอบการทางสังคมของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชา อุตสาหกรรม.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1930-1944.

วรัตถ์พัชร์ ทวีเจริญกิจ, และ วิชิต สุรัชเรืองชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้. วารสารราชพฤกษ์, 17(1), 2562.

ภูมิพัฒน์ วนพิพัฒน์พงศ์์, สุภาณี เส็งศรีี, สุภาณี เส็งศรีี, กอบสุข คงมนัส, และกอบสุข คงมนัส. (2564). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning: PjBL) โดยการใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก.วารสารวิชาการ T – VET JOURNAL, 5(9). 156-171.

สุวัฒน์ นิยมไทย. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานและเทคโนโลยีเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. วารสารวิชาการ T – VET JOURNAL, 4(8), 55-71