การพัฒนาสื่อ AR ประกอบการสอนรายวิชาชีวิตกับสังคมไทยเพื่อพัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัล ของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง DEVELOPMENT OF AR MEDIA IN CONJUNCTION WITH THE TEACHING OF LIFE SUBJECTS IN THAI SOCIETY TO DEVELOP DIGITAL CITIZENSHIP SKILLS OF STUDENTS AT THE DIPLOMA LEVEL
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) 1. เพื่อการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2. เพื่อพัฒนาสื่อ AR ประกอบการสอนรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย เพื่อพัฒนาทักษะพลเมืองดิจิทัลของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามผู้เรียน 2) แนวคำถามในการสัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงและสังเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Creswell ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย ผู้เรียนยังขาดทักษะพลเมืองดิจิทัล ซึ่งมีทักษะฯอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 2.51 และครูผู้สอนยังขาดการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ขาดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย 2) ผลการพัฒนาสื่อ AR ประกอบการสอนในรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และใช้เทคโนโลยีเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (AR) มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีอิสระวิสัยในการคิดแบบพหุมิติ จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะพลเมืองดิจิทัลที่สูงขึ้นอยู่ในระดับมาก มีค่าเท่ากับ 4.48 ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ PLTC Model ที่ผู้วิจัยค้นพบซึ่งสามารถนำไปพัฒนาการศึกษาในอนาคตได้
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2560). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (Augmented Reality:
AR). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
บุญรักษ์ ยอดเพชร. (2562). ปรับโฉมหลักสูตรอาชีวก้าวสู่เด็กช่างยุคดิจิทัล.
กรุงเทพมหานคร : คมชัดลึก.
ธงชัย สมบูรณ์. (2563). ถอดรหัสการศึกษาของโลก: มุมมองเชิงปฏิพัทธ์. กรุงเทพฯ: มติชน.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). Digital Learning. นครนายก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิศรุต ขวัญคุ้ม. (2562). ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อติพร เกิดเรื่อง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุค
ดิจิทัล. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยชินวัตร.
Creswell, J.W. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods
Approaches (4th ed.). London: SAGE.
Ministry of Education. (2017). National Education Plan 2017 – 2036. Bangkok :
Office of the Education Council Secretariat.
Chun Meng Tang and Lee Yen Chaw. (2016). Digital Literacy: A Prerequisite for
Effective Learning in a Blended Learning Environment?. Chun Meng Tang
and Lee Yen Chaw.
Luci Pangrazio. (2021). Digital Rights, Digital Citizenship and Digital Literacy: What's
the Difference?. Deakin University, Australia.
Tohid Moradi Sheykhjan. (2017). Internet Research Ethics: Digital Citizenship
Education. Department of Education, University of Kerala.
UNESCO. (2018). A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for
Indicator, Retrieved December 10, 2020.
http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents /ip51-global-framework-
reference-digital-literacy-skills-2018-en.pdf