การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ตามหลักสุนทรียสนทนา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (The Development of English Critical Reading Abilities Based on the Processes of Dialogue for Third Year Undergraduate English Major Students, Faculty of Liberal Arts, Bangkokthonburi University)
คำสำคัญ:
การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์, สุนทรียสนทนาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามหลักสุนทรียสนทนา 2) ศึกษาการแสดงความรู้แฝงในระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามหลักสุนทรียสนทนา และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสุนทรียสนทนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอน จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบบันทึกการแสดงความรู้แฝง และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสุนทรียสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยหลังการจัดการเรียนรู้ตามหลักสุนทรียสนทนา 5 ขั้น พบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การแสดงความรู้แฝงของนักศึกษาระหว่างสัปดาห์ที่ 1 ถึงสัปดาห์ที่ 5 มีค่าสถิติร้อยละสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสุนทรียสนทนา อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅) อยู่ที่ระดับ 4.14 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ที่ระดับ 0.67
References
Aksorndej, Natcha. (2011). Construction of Drill Package on Reading for Comprehension for Mathayomsuksa 2 Students (การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2). Master’s dissertation, Burapha University, Chonburi, Thailand.
Attawong, Patnaree, Suwannapa, Chaweewan, & Chanchamrat, Teerawat. (2013). Factors Affecting the Reading Behavior According to the Opinion of the Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus (ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านตามความเห็นของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่). [Online]. Retrieved November 1, 2022 from https://www.mcu.ac.th/article/detail/292
Bohm, D. (1996). On Dialogue. NY: Routledge.
British Council. (2022). 5 Ways to Improve Your Speaking Skills (5 วิธีเพิ่มความกล้าในการพูดภาษาอังกฤษ). [Online]. Retrieved November 1, 2022 from https://www.britishcouncil.or.th/english/tips/improving-your-speaking-in-only-5-steps
Ennis, R. H. (1962). A Concept of Critical Thinking. Harvard Educational Review, 32(1): 81-111.
Krathwohl, D. R. (2002). A Revision of Bloom’s Taxonomy: An Overview. Theory into Practice, 41(4): 212-218. [Online]. Retrieved November 1, 2022 from https://www.depauw.edu/files/resources/krathwohl.pdf
Nillapun, Maream. (2015). Research Methodology in Education (วิธีวิจัยทางการศึกษา) (9th ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University Printing House.
Panich, Vicharn. (2012). Ways of Building Learning for Students in the 21st Century (วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21). Bangkok: Tathata Publication.
Pinitjitsamut, Montchai. (2009). Dialogue, Aesthetic Conversation: The Science of Creation. The Collective Intelligence of Human Beings (Dialogue สุนทรียสนทนา: ศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์สติปัญญาร่วมกันของมนุษย์). Samut Prakan: Jong Jaroen Offset.
Po Ngern, Wisud. (2013). Using of Dialogue to Develop Question Abilities for Bachelor Degree Students in the Department of Elementary Education, Faculty of Education Silpakorn University (การใช้สุนทรียสนทนาเพื่อพัฒนาความสามารถในการตั้งคำถามของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร). Silpakorn Educational Research Journal, 5(1): 21-33.
Poovorawan, Yong. (2021). New Normal Life with New Media (ชีวิตวิถีใหม่กับสื่อใหม่). [Online]. Retrieved November 1, 2022 from https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=6&l=1
Ruangsakul, Nawaporn. (2014). Spring at Bellagio: Aesthetic Conversation of Wisdom at Sir Belloni Castle (ใบไม้ผลิที่ Bellagio: สุนทรียสนทนาแห่งปัญญา ณ ปราสาทเซอร์เบลโลนี). Bangkok: KnowledgePlus.
Rumelhart, D. E. (1977). Toward an Interactive Model of Reading. In S. Dornic (Ed.), Proceedings of the Sixth International Symposium on Attention and Performance, (pp. 573-604). NJ: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Sirisai, Sorot. (2006). Dialogue: A New Dimension of Stage Performance for Villagers (Dialogue: มิติใหม่ของการจัดเวทีชาวบ้าน). Journal of Language and Culture, 25(2): 38-49.
Stauffer, B. (2022). What are 21st Century Skills? [Online]. Retrieved November 1, 2022 https://www.icevonline.com/blog/what-are-21st-century-skills
Suwanbubpha, Parichart. (2010). Manual for Organizing the Dialogue Process (คู่มือการจัดกระบวนการสานเสวนา). Nakhon Pathom: The Research Center for Peacebuilding, Mahidol University.
Thakan, Wallapa. (2020). Deep Listening (การฟังอย่างลึกซึ้ง). [Online]. Retrieved November 1, 2022 from http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1516_5f0ab2e81b82a5f0ab2.pdf
Thammongkol, Kanda. (1983). Critical Reading in English (การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์). Pasaa Paritat Journal, 4(2): 26-41.
Yoongtong, Peanporn, Kajonrungsilp, Suchinda, & Chaisooksung, Sunee. (2015). The Application of Dialogue in the Nursing Value Training Program (การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาในการจัดการเรียนการสอนคุณค่าการเป็นพยาบาล). Region 3 Medical and Public Health Journal, 12(2): 24-35.