การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์ และประเมินผล กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Pattayanee Oratanapanya Master of Public Administration Program in Public Administration Faculty of Social Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • Anuwat Krasang Department of Political science, Faculty of Social Sciences MahachulalongKornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

KnowledgeManagement, Learning Organiztion, Strategy and Evaluation Department

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในอนาคตหากต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆกับการที่บุคลากรถึงแก่กรรม ลาออก โอน ย้าย เกษียณอายุราชการ  และแนวทางแก้ไขในการจัดการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร จึงควรแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการหาแนวทางรวบรวมความรู้จากบุคคลที่ยังคงรับราชการอยู่กับหน่วยงานและบุคคลที่กำลังจะพ้นไปจากหน่วยงาน จำเป็นต้องรวบรวมความรู้จากบุคคลเหล่านั้นมารวมไว้ที่เดียวกันโดยจุดมุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำเอกสาร คู่มือและตำรา เพื่อให้คนรุ่นหลังสามารถดำเนินงานต่อไปได้

            การวิจัยครั้งนี้-ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี-(Mixed---Method-Research)โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ-(Quantitative-Research)-ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ-(Survey-Research)โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ-บุคลากรของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร-จำนวน-165-คน-ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่-ยามาเน่-(Taro-Yamane)-และวิเคราะห์ข้อมูลโดย-(Frequency)-ค่าร้อยละ (Percentage)-หาค่าเฉลี่ย-(Mean)-และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน-(Standard-Deviation)-การทดสอบค่าที-(t---test)-การวิเคราะห์-ความแปรปรวนทางเดียว-(One-way-analysis-of-variance)-และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด-(Least-Significant Different-:-LSD)-และการวิจัยเชิงคุณภาพ-ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก-(In-depth-Interview)-กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key-Informant)-กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) 7 คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารของหน่วยงาน , หัวหน้าฝ่าย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง
(structured in-depth-interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ (descriptive interpretation)

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. บุคลากรของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร มีระดับการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีระดับการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ปานกลาง และมากที่สุด ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (Knowledge Vision : KV) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 อยู่ในระดับมาก ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing : KS) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 อยู่ในระดับปานกลาง และด้านองค์ความรู้ที่องค์กรได้เก็บสะสมไว้เป็นคลังความรู้ (Knowledge Assets : KA) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58อยู่ในระดับมากที่สุด
  2. เปรียบเทียบการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล-ได้แก่-เพศ-อายุ-ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง-ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน-และประสบการณ์ในการทำงาน-โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลยอมรับตามสมมติฐานที่ตั้งไป
  3. ข้อเสนอแนะต่อจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานครหน่วยงานได้มีการตรวจสอบติดตามการกำหนดวิสัยทัศน์ โดยเป็นไปตามกระบวนการที่ได้จัดทำแผนเพื่อให้ตรงตามวิสัยทัศน์และแผนที่วางไว้มีการส่งเสริมให้บุคลากรให้ช่วยกันคิดระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยกระบวนการต่างๆ เพื่อนำมาถ่ายทอด สร้างเครือข่าย ในการเรียนรู้งาน โดยการสอนงานผ่านกลุ่ม lineโดยหาซอฟท์แวร์ที่พร้อมใช้ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการทำงาน ใช้ในการสืบค้นข้อมูลระบบสารสนเทศ ในการเข้าถึงระบบอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)