การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • Muntana Preeyavanit Office of Educational Management Innovation Development Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท  4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี               เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา 62 คนและครู 274 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-Way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย 1. การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น                รายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ย คือ หลักการบริหารแบบวิมังสา (การทบทวนเพื่อปรับปรุง) หลักการบริหารแบบจิตตะ(การวัดและประเมินผล) หลักการบริหารแบบวิริยะ (การปฏิบัติตามแผน) และหลักการบริหารแบบฉันทะ (การวางแผน) 2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารและครูจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้  3. ผลการเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารและครู จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  ผู้บริหารและครู ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท 4  ด้านหลักการบริหารแบบฉันทะ (การวางแผน)มากกว่าผู้บริหารและครู ที่มีอายุ 30 – 45 ปี และผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน มากกว่า 25 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นมากกว่าผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน ระหว่าง 10-25 ปี และน้อยกว่า 10 ปี ด้านหลักการบริหารแบบฉันทะ (การวางแผน) หลักการบริหารแบบวิมังสา (การทบทวนเพื่อปรับปรุง) และในภาพรวม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)