จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทย
คำสำคัญ:
Ethics, Politician, Politics, Political systemบทคัดย่อ
คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง นับเป็นปัญหาหลักประการหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้นักธุรกิจสามารถเข้าสู่การแสดงบทบาทนักการเมืองมากขึ้น และนำไปสู่การเกิดสภาพปัญหาในลักษณะการอาศัยตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองเพื่อทางธุรกิจของครอบครัวและวงศ์ตระกูล เนื่องจากการบริหารประเทศนั้น ต้องยึดหลักผลประโยชน์สาธารณะ มากกว่าผลประโยชน์ส่วนบุคคล เพราะฉะนั้น หากนักการเมืองขาดซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองแล้ว ก็มักจะก่อปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในรูปแบต่างๆ อาทิ เช่น การมิได้รับความเป็นธรรมของกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกับรัฐบาล การกำหนดนโยบายต่างๆ อาจเอื้อต่อกลุ่มทุนรัฐบาลด้วย และทำให้การออกนโยบายต่างๆ ได้ประโยชน์กับคนเพียงบางกลุ่ม
ระบบราชการไทยมีกำเนิดมาเมื่อใดเป็นเรื่องที่ยากจะกำหนด นับตั้งแต่มีการปกครองประเทศมาถึงปัจจุบัน ระบบราชการได้เป็นกลไกหนึ่งในการปกป้องอธิปไตย ปกป้องสถานะอำนาจของผู้นำ เผชิญภัยคุกคามจากภายนอก รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จัดระเบียบสังคม และริเริ่มผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นองค์อธิปัตย์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดพระองค์เดียวก็ตาม ใช่ว่าการปฏิรูประบบราชการจะเป็นไปโดยสะดวกง่ายดายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ระบบราชการไทยซึ่งเป็นเครื่องมือการปกครองส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสาธารณะ นับตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ระบบราชการไทยได้ขยายตัวจนเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังคนประมาณสองล้านคน และมีหน่วยงานระดับต่างๆจำนวนมากมายกระจายอยู่ทั่วไป ระบบราชการไทยมีบทบาทและภารกิจครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ บทบาทและภารกิจของระบบราชการไทยตั้งแต่อดีตจนถึงการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม