คุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักบริหาร พื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ผู้แต่ง

  • Saengdao Panlaem Procurement Academic, Professional National Park Service

คำสำคัญ:

Quality of life, The Performance, Iddhibada IV

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามหลัก   อิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

             การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) และประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 1,353 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 309 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวัดระดับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีความเชื่อมั่น 0.955 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไปและทำการทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก  กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความเรียงประกอบเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับความคิดเห็นขอบบุคลากรต่อคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามอิทธิบาท 4 ของบุคลากร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบว่า คุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการแจกแจงแต่ละด้าน พบว่า ด้านความภาคภูมิใจ ด้านความมั่นคงในงาน ด้านการมีสุขภาพดี ด้านการสื่อสาร ด้านการพัฒนาในสายอาชีพ ด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน และด้านสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ด้านการบริหารความขัดแย้ง อยู่ในระดับปานกลาง
  2. การเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ด้วยการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรตามสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์ และตำแหน่ง ไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
  3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่นำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดย การวางแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร โดยการนำหลักธรรมมาใช้ในทุกๆ ด้าน และกำหนดแผนงาน โครงการ การวัดผลและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ชัดเจน มีการมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบจากหลายๆ ฝ่ายในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)