การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาล ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
Participation, People’s, Administration, Sub-district Administrative Organization, Borplubบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน จากประชากรจำนวน 8,344 คน ซึ่งเป็นประชาชนอายุ 18 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.944 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different: LSD.) การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับปานกลางทุกด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรกดังนี้ ด้านการร่วมคิดตัดสินใจ ( = 3.29) ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ( = 3.25) ด้านการร่วมดำเนินการ ( = 3.24)
2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ และจำนวนครั้งต่อการรับบริการ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งต่อการรับบริการต่างกัน มีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3) ปัญหา และอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนเทศบาลตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการมี่ส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน การสร้างจิตสำนึกการรักท้องถิ่น ความสามัคคีในชุมชน และแรงจูงใจในการมีร่วมจัดทำแผนพัฒนา ข้อเสนอแนะ คือ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา ควรกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดี และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาการบริหารงานที่ยั่งยืน