thai การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง

thai

ผู้แต่ง

  • สุภรัตน์ดา เพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • จักรวาล สุขไมตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ศิโรฒน์ ภาคสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ , การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์  เขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง 2) เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง 3) เพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 ท่าน โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านตัดสินใจ บุคลากรได้ร่วมกระบวนการวางแผนและตัดสินใจ ทั้งในรูปแบบการเข้าประชุมทีมหรือเป็นคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อนำข้อสรุปที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปัญหาที่พบ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองในบางเรื่องเนื่องจากเกี่ยวพันกับข้อกฎหมายความไม่ชัดเจนในเชิงนโยบายและแนวในการดำเนินงานแนวทางการแก้ไข ที่พบ คือ ควรเปิดโอกาสให้บุคลลากร มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการสะท้อนกลับของข้อมูลเพื่อสรุปประเด็นใช้ประกอบในการตัดสินใจในการดำเนินงานใ2) ด้านการดำเนินการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะมอบนโยบายสู่หน่วยงานระดับกรม โดยส่งมอบข้อกฎระเบียบ และขั้นตอนการดำเนินงานสู่หน่วยงานระดับจังหวัด ซึ่งปัญหา คือ บุคลากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่เพียงพอ การติดขัดเรื่องระเบียบวิธีการของแผนงาน/โครงการ โดยโครงการที่ได้รับมาไม่สอดคล้องกับพื้นที่ที่ปฏิบัติ แนวทางการแก้ไข คือ การแปลงนโยบายออกเป็นแนวทางปฏิบัติหรือออกมาในรูปของแผนงานหรือโครงการแล้วแต่กรณี หน่วยงานยอมรับแนวทางแผนงานโครงการ 3) ด้านการรับประโยชน์ ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบถึงการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ แนวทางปฏิบัติ ปัญหา คือ บุคลากรที่รับผิดชอบแผนงาน/โครงการของแต่ละหน่วยงาน มีการสับเปลี่ยน/โอนย้าย ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน แนวทางการแก้ไข คือ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของบุคลากรและเกษตรในพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและหน้าที่ 4) ด้านการประเมินผล มีการกำหนดระยะเวลาในการติดตามและประเมินผล ซึ่งเจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้ลงไปดำเนินการว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด ซึ่งปัญหา คือ ระยะเวลาที่กำหนดไม่เพียงพอสำหรับการประเมินผล แนวทางการแก้ไข คือ ควรมีการกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมในการลงไปเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินผลเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)