มาตรการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ สิงห์แก้ว สิงห์แก้ว

คำสำคัญ:

อาชญากรรมไซเบอร์, ภัยคุกคาม, กรมสอบสวนคดีพิเศษ

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของกรมสอบสวน-คดีพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ การศึกษาวิจัยได้กระทำในช่วงปี 2557 - 2562 โดยนำเอาแนวคิดการเมืองกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Myriam and Florian (2019) เป็นแนวคิดหลัก รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวการจัดการภัยคุกคามอาชญากรรมไซเบอร์ และแนวคิดอาชญากรรมและการป้องกันอาชญากรรมเป็นกรอบในการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจจะต้องดำเนินการเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีมาตรการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ที่สำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) บทบาทในด้านการรักษาความปลอดภัย
โดยการสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ซึ่งหน่วยงานรัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย รวมถึงการกำกับดูแลตนเอง และการกำกับดูแลร่วมกันของทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (2) บทบาทในด้านผู้สนับสนุน โดยมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และ (3) บทบาทในด้านตัวแทน  โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ อย่างไรก็ดี แม้มาตรการทางกฎหมายจะเข้มงวดมากเท่าใด แต่ก็อาจมีความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อันอาจกระทบถึงความมั่นคงของชาติ แต่ความเข้มข้นของมาตรการดังกล่าว รัฐบาลก็ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนยังคงดำรงซึ่งสิทธิเสรีภาพในโลกไซเบอร์เสมอกับที่มีในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)