การวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองในการนำนโยบายประชารัฐของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • manaschai antasaeng suan sunandha rajabhat university
  • วิจิตรา ศรีสอน
  • สัณฐาณ ชยนนท์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารการเมือง, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายประชารัฐ

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาการนำนโยบายประชารัฐของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปปฏิบัติ 2. เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองในการนำนโยบายประชารัฐของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปปฏิบัติ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของรัฐบาลไปยุคปัจจุบัน  ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มข้าราชการประจำระดับสูง และกลุ่มนักวิชาการด้านการสื่อสารการตลาด โดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความหรือการแปลความจากบทสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ช่องทางการสื่อสารนโยบายไปสู่ประชาชนเป็นการกำหนดนโยบายซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามความจำเป็นอย่างรอบด้าน ได้แก่ (1) การมีงานทำ (2) การฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา (3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบและ (4) การเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน บูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ 2) การวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของ “นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” พบว่าการสื่อสารทุกรูปแบบที่ดำเนินการเป็นการจูงใจให้เลือกนโยบายพรรคตนเองไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยการใช้สื่อ โดยเฉพาะ Social Media มีลักษณะเจาะจงเป็นนวัตกรรมให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้พ้นจากปัญหาความยากจน 3) การนำหลักการตลาดมาประยุกต์ใช้ทำให้พรรคการเมืองที่เป็นที่รู้จักมากย่อมมีโอกาสโกยคะแนนเสียงได้มากขึ้น และสอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนได้ตรงเป้าหมาย ข้อดี “นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” คือเกิดการแข่งขันเพื่อชิงพื้นที่ในการกำหนดนโยบายเพื่อดูแลประชาชน ทำให้ประชาชนมีทางเลือกนโยบายต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เป็นการสร้างมูลค่าในทางเศรษฐกิจจากการหมุนเงินเข้าใช้จ่ายในตลาด กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน แต่ยังพบปัญหาคือรัฐต้องใช้เงินจำนวนมากกับนโยบายนี้ ประชาชนมีพฤติกรรมรอการรับเงินตามรอบเดือนโดยไม่ประกอบอาชีพ และรัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตามโครงการขึ้นไปอีกเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดในขณะที่ประชาชนอ่อนแอลง ภาษีที่จัดเก็บได้ลดลง ทำให้รัฐบาลกู้เงินจากทั้งภายในและนอกประเทศเพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-09 — Updated on 2022-06-28

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)