สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมทางการเมืองของทหาร
คำสำคัญ:
อิทธิพลของสื่อ , สื่อออนไลน์ , พฤติกรรมทางการเมืองบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของสื่อออนไลน์กับพฤติกรรมทางการเมืองของทหาร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลสื่อออนไลน์กับพฤติกรรมทางการเมืองของทหาร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บและรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการทหาร จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสหสัมพันธ์ใช้ในการคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจากสูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมทางการเมืองของทหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.11) สำหรับด้านที่มีระดับปัจจัยมากที่สุดคือด้าน การแสดงประชามติ ซึ่งมีระดับปัจจัยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) ด้านการริเริ่มเสนอแนะ ซึ่งมีระดับปัจจัยอยู่ในระดับมาก ( = 4.25) ด้านการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งมีระดับปัจจัยอยู่ในระดับมาก ( = 4.23) ด้านการถอดถอนจากตำแหน่ง ซึ่งมีระดับปัจจัยอยู่ในระดับมาก ( = 4.07) ด้านการประชาพิจารณ์ ซึ่งมีระดับปัจจัยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42) ตามลำดับ อิทธิพลของสื่อออนไลน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.18) สำหรับด้านที่มีระดับการมีอิทธิพลของสื่อออนไลน์มากที่สุดคือ สื่อสารได้รวดเร็ว ซึ่งมีระดับการมีอิทธิพลของสื่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.41) และสื่อออนไลน์มีภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งมีระดับการมีอิทธิพลของสื่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีระดับการมีอิทธิพลของสื่อออนไลน์น้อยที่สุดคือ ท่านได้รับแหล่งที่มาของข้อมูลน่าเชื่อถือ ผ่านทางสื่อออนไลน์ ซึ่งมีระดับการมีอิทธิพลของสื่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.78) ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของสื่อออนไลน์ต่อพฤติกรรมทางการเมืองของทหาร พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับความสัมพันธ์สูงซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (r = 0.815) สำหรับข้อที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุดคือท่านมีการรับรู้ข้อมูลมีรายละเอียดครบถ้วน ครอบคลุมเนื้อหาทุกแง่มุมผ่านทางสื่อออนไลน์ ซึ่งมีระดับความสัมพันธ์สูง (r=0.88) ส่วนข้อที่มีระดับความสัมพันธ์น้อยที่สุดคือ สื่อออนไลน์มีภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r= 0.75)
ข้อเสนอแนะในการศึกษา พบว่า ในสภาพปัจจุบันข้อมูลข่าวทางสื่อออนไลน์ในแต่ละประเภทนั้น ไม่สามารถจำกัดข้อมูลหรือกระแสของการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ทางการเมืองได้ ผู้รับสื่อควรเลือกรับและมีวิจารณญาณในการเลือกข่าวจากสื่อออนไลน์ด้วยตนเอง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความจริงและไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น