การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • phitsaran thamrongworakun มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • Kannikar Sansupa
  • Ueathip Kongkranphan
  • Phurided Pahuyut
  • Phakawan Nantasen
  • Umaporn Sucaromana
  • Umaporn Sucaromana

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาและผู้ใช้บัณฑิตต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณทิต สาขาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา หลักสูตรปรับปรุง 2561 และค้นหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณทิต วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา หลักสูตรปรับปรุง 2566 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาและศิษย์เก่า วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 109 คน และผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา และแนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย  

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อประกอบด้วย เนื้อหาวิชาในหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รายวิชาในหลักสูตรสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาได้เพียงพอ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับรายวิชา เนื้อหาวิชาในหลักสูตรมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ และรายวิชาในหลักสูตรมีความทันสมัยสำหรับการนำไปประกอบอาชีพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรมด้านคุณธรรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้ และด้านทักษะทางปัญญา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน  2) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณทิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษาจากความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า ต้องการให้เพิ่มกระบวนวิชาเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการปรึกษา กระบวนวิชาจิตวิทยาครอบครัว กระบวนวิชาการปรึกษาแบบกลุ่ม รวมถึงกระบวนวิชาเอกเลือกที่ทันสมัยเหมาะสมต่อสภาพสังคมปัจจุบัน ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์นอกสถานที่ ส่วนผู้ใช้บัณฑิต แสดงความคิดเห็นว่าต้องการให้หลักสูตรเพิ่มการฝึกปฏิบัติการปรึกษาและการพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมต่อการเป็นผู้ให้การปรึกษา รวมถึงเน้นด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการฝึกปฏิบัติงาน ตลอดจนการปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)