ปัญหาความรับผิดทางอาญาของอนุญาโตตุลาการในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ สานุทิศ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • Awnrumpa Waiyamuk -

คำสำคัญ:

การรับสินบน, อนุญาโตตุลาการ, การอนุญาโตตุลาการ, พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางเอกสาร (documentary research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการกำหนดความรับผิดทางอาญาของอนุญาโตตุลาการในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 23 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติโทษทางอาญาสำหรับอนุญาโตตุลาการที่เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่  ยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร เนื่องจากอนุญาโตตุลาการที่มีความผิดตามมาตราดังกล่าวต้องเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการแล้วจึงจะถือว่าหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแล้ว ซึ่งหากมีการเรียก รับ หรือยอมรับ ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการก็จะไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเห็นควรวางมาตรการทางอาญาให้ครอบคลุมลักษณะของการกระทำความผิด โดยเทียบเคียงกับความผิดฐานเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเรียกรับทรัพย์สินก่อนรับตำแหน่งตามมาตรา 202 ประมวลกฎหมายอาญา และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมาตรา 123 ประมวลกฎหมายอาญาของสาธารณรัฐจีน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)