การนำนโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- Commerce) ไปปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • ศันสนะ สุริยะโยธิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การนำนโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติ (2)  เพื่อศึกษาความสําเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติ  และ (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการนํานโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จากบุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 20 คน  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุปพรรณนาความผลการศึกษาพบว่า  1) ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติ พบว่า (1) การขาดแคลนบุคลากร (2) ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่เห็นถึงความสำคัญ  (3) โครงสร้างพื้นฐานที่จะนำมาใช้  (4) องค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน (5) การขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน (6) การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (7) วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่เพียงพอ  และ (8) ประชาชน ขาดความเชื่อมั่น มั่นใจ ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  2) ความสําเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติ  ประกอบด้วย  (1) ด้านนโยบาย (2) ด้านทรัพยากร (3) ด้านความร่วมมือผู้ปฏิบัติงาน (4) ด้านการสื่อสารและกิจกรรมส่งเสริม (5) ด้านองค์กรและคุณลักษณะขององค์กร (6) ด้านผู้กำหนดนโยบาย/ผู้บริหาร และ (7) ด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย    และ  3) ข้อเสนอแนะการนํานโยบายส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ไปปฏิบัติ  ผลการวิจัยพบว่า  (1) ต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอ (2) ควรมีการพัฒนาความรู้และทักษะในด้านวิชาการ และด้านกฎหมายให้กับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (3) ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  (4) ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในด้านต่าง ๆ (5) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (6) เตรียมความพร้อมของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และข้อตกลงต่าง ๆ  และ (7) ควรมีการประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-30