บทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารกับการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมือง กรณีศึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ผู้แต่ง

  • Teeraporn Jummaree -
  • สัณฐาณ ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บทบาททางการเมือง, ผู้นำทหาร, รูปแบบผู้นำ, รัฐประหาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบผู้นำ รูปแบบการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารของ พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เข้ามากำหนดบทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหาร และปัจจัยที่ทำให้ผู้นำฝ่ายทหารนำกองทัพเข้าแทรกแซงการเมืองได้สำเร็จ และ 3) วิเคราะห์ผลกระทบของการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย งานวิจัยนี้เน้นการศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างปลายเปิดจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ แบ่งขอบเขตการศึกษาเป็น 2 กรณีศึกษา ได้แก่ กรณีศึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร รัฐประหารวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และ กรณีศึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ผลการวิจัยพบว่า พลเอก

        งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบผู้นำ รูปแบบการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เข้ามากำหนดบทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหาร และปัจจัยที่ทำให้ผู้นำฝ่ายทหารนำกองทัพเข้าแทรกแซงการเมืองได้สำเร็จ และ 3) วิเคราะห์ผลกระทบของการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย งานวิจัยนี้เน้นการศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจง อาศัยแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ โดยแบ่งขอบเขตการศึกษาเป็น 2 กรณีศึกษา ได้แก่ กรณีศึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร รัฐประหารวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และ กรณีศึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

         ผลการวิจัยพบว่านายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร และ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีรูปแบบผู้นำที่คล้ายคลึงกัน คือ ผู้นำแบบฝักใฝ่อำนาจ และอาศัยรูปแบบการเข้ามามีบทบาททางการเมืองในระดับรุนแรงที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลทั้งชุดเช่นกัน ใช้การรัฐประหารเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจ โดยเมื่อรัฐประหารสำเร็จ นายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร ยังไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทันที แต่วางตนเองเป็นทหารผู้พิทักษ์ก่อน จากนั้นเมื่อขึ้นสู่ตำแหน่งจึงเปลี่ยนบทบาทมาเป็นทหารนักปกครอง ในขณะที่ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อรัฐประหารสำเร็จ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที และวางตนเป็นทหารนักปกครอง

         ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เข้ามากำหนดบทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหาร มี 3 ปัจจัย ดังนี้ 1) เป้าหมาย 2) การมองและประเมินสถานการณ์ และ 3) ทรัพยากรทางการเมือง และปัจจัยที่ทำให้ผู้นำฝ่ายทหารนำกองทัพเข้าแทรกแซงการเมืองได้สำเร็จ ได้แก่ 1) โครงสร้างสังคมมีสภาพอ่อนแอ 2) สถาบันทหารมีความเข้มแข็งกว่าสถาบันการเมืองอื่น และ 3) ผลประโยชน์ของฝ่ายทหารถูกกระทบกระเทือน นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย ส่งผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ส่งผลกระทบด้านบวก คือ กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น และส่งผลกระทบด้านลบ คือ เกิดการย้อนกลับของประชาธิปไตยไปสู่ระบอบเผด็จการ และขาดเสถียรภาพทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบด้านลบ คือ เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจหยุดชะงัก และ ด้านสังคม ส่งผลกระทบด้านลบ คือ เกิดปัญหาสังคม และเกิดการเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ ทั้งนี้ข้อเสนอะแนะของการวิจัยเพื่อให้การเมืองประชาธิปไตยไทยเป็นไปทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้นมีดังนี้ ควรเสริมสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบอบประชาธิปไตย เน้นการมีสถาบันการเมืองที่มีความชอบธรรม และควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สุจินดา คราประยูร และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีรูปแบบผู้นำที่คล้ายคลึงกัน คือ ผู้นำแบบฝักใฝ่อำนาจ และอาศัยรูปแบบการเข้ามามีบทบาททางการเมืองในระดับรุนแรงที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลทั้งชุดเช่นกัน ใช้การรัฐประหารเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจ โดยเมื่อรัฐประหารสำเร็จ พลเอก สุจินดา คราประยูร ยังไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทันที แต่วางตนเองเป็นทหารผู้พิทักษ์ก่อน จากนั้นเมื่อขึ้นสู่ตำแหน่งจึงเปลี่ยนบทบาทมาเป็นทหารนักปกครอง ในขณะที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อรัฐประหารสำเร็จ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที และวางตนเป็นทหารนักปกครอง

         ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เข้ามากำหนดบทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหาร มี 3 ปัจจัย ดังนี้ 1) เป้าหมาย ประกอบด้วย เป้าหมายเชิงหลักการ ได้แก่ อุดมการณ์รักษาความสงบ และความต้องการควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ และเป้าหมายเชิงผลประโยชน์ ได้แก่ อำนาจทางการเมือง และคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ 2) การมองและประเมินสถานการณ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ทางการเมือง ได้แก่ ทหารคือที่พึ่งของประชาชน การมีไหวพริบในการช่วงชิงสถานการณ์ และ
วิธีการรับมือสถานการณ์ ได้แก่ การกำจัดอำนาจเก่าด้วยกำลังทางกายภาพ และ 3) ทรัพยากรทางการเมือง ประกอบด้วย ฐานอำนาจจากกองทัพ องค์กรทหารและพรรคการเมือง และข่าวสาร และปัจจัยที่ทำให้ผู้นำฝ่ายทหารนำกองทัพเข้าแทรกแซงการเมืองได้สำเร็จ ได้แก่ 1) โครงสร้างสังคมมีสภาพอ่อนแอ 2) สถาบันทหารมีความเข้มแข็งกว่าสถาบันการเมืองอื่น และ 3) ผลประโยชน์ของฝ่ายทหารถูกกระทบกระเทือน นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารต่อการทำให้เป็นประชาธิปไตย ส่งผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ส่งผลกระทบด้านบวก คือ กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น และส่งผลกระทบด้านลบ คือ เกิดการย้อนกลับของประชาธิปไตยไปสู่ระบอบเผด็จการ ขาดเสถียรภาพทางการเมือง ทำลายสถาบันหลักทางการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนถูกจำกัด ด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบด้านลบ คือ เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจหยุดชะงัก และต่างชาติลดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และ ด้านสังคม ส่งผลกระทบด้านลบ คือ เกิดปัญหาสังคม เกิดการเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ และการดำเนินชีวิตไม่เป็นอิสระ ทั้งนี้ข้อเสนอะแนะของการวิจัยเพื่อให้การเมืองประชาธิปไตยไทยเป็นไปทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้นมีดังนี้ ควรเสริมสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบอบประชาธิปไตย เน้นการมีสถาบันการเมืองที่มีความชอบธรรม ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตย        

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)