การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี

ผู้แต่ง

  • Udom Lapisatepan -
  • วันชัย มีชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ , สมานฉันท์ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

         กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนได้มีการพัฒนาปรับปรุง ที่มิได้เน้นการลงโทษแต่มุ่งไปสู่การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ สอดคล้องกับมาตรฐานงานยุติธรรมทางอาญาของสหประชาชาติ ส่วนหนึ่งได้มีการนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 90 ในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ที่ประยุกต์มาจากงานยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ มาใช้หันเหคดีออกจากการดำเนินคดีอาญาตามช่องทางปกติ แม้มีความชัดเจนในการปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขตามที่ออกเป็นกฎหมาย แต่ก็ยังคงมีรายละเอียดที่ยังต้องได้รับการพัฒนาแก้ไข บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษา การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนโดยศาลเยาวชนและครอบครัวผ่านการดำเนินการตาม”มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี” ที่ได้นำแนวทางการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติมาใช้เป็นแนววิเคราะห์ โดยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคผ่านปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากขั้นตอนการนำไปปฏิบัติ นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการนำไปปฏิบัติโดยศาลเยาวชนและครอบครัวได้ โดยสมควรปรับปรุงกฎหมาย จัดสรรทรัพยากร เพิ่มเติมหน่วยงานในองค์กรของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และติดตามควบคุมดูแล เพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยาวชนอย่างสมดุลกับการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมอย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-19

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)