การนำแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการ

ผู้แต่ง

  • นพดล โฉมมิ -
  • นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวทาง, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การปฏิบัติและใช้ประโยชน์, การพัฒนา, ข้าราชการ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการ กองฝึกการบิน โรงเรียนการบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการกองฝึกการบิน โรงเรียนการบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการกองฝึกการบิน โรงเรียนการบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเรียงลำดับระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนมากไปหาน้อย ดังนี้  ลำดับที่ 1 คือ ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการขับเคลื่อนอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.278) ลำดับที่ 2 คือ ด้านความพอประมาณมีค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการขับเคลื่อนอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.6, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.315) ลำดับที่ 3 คือ ด้านความมีเหตุผลมีค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการขับเคลื่อนอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.379) ลำดับที่ 4 คือ ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการขับเคลื่อนอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.384) และลำดับที่ 5 คือ ด้านคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการขับเคลื่อนอยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.299) ตามลำดับ ความสำเร็จในการขับเคลื่อน เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้ของหน่วยได้เสริมสร้างให้หน่วยมองวิสัยทัศน์ใหม่ ให้เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา ได้แก่ การแสวงหาความร่วมมือจากนักวิชาการ หรือหน่วยงานภายนอก และส่งเสริมให้ทำงานวิจัยเพื่อนำผลที่ได้มาวางแผนพัฒนาต่อไป กระบวนการสร้างความหลากหลายจากปัจจัยที่เป็นคุณต่อการพัฒนาเป็นการเปิดรับเอาความรู้และความช่วยเหลือจากภายนอก โดยเปิดเวทีแลกเปลี่ยนทัศนะ เรียนรู้ระหว่างกัน และวางแผนพัฒนาเพื่อจะนำไปสู่ความร่วมมือพัฒนาแบบภาคีต่าง ๆ และกระบวนการสร้างเครือข่าย เป็นการต่อยอดความรู้ในการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุและชั้นชนที่แตกต่างกันของข้าราชการกองฝึกการบิน โรงเรียนการบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากความสามารถในการดำรงชีวิตด้วยวิธีการพึ่งตนเองด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ องค์กร สถาบัน ชุมชน มีส่วนร่วมให้การสนับสนุน และร่วมพัฒนาชุมชนทั้งในด้านการระดมสรรพกำลังทรัพยากร และองค์ความรู้และเทคโนโลยี ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกซน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และสถาบันการศึกษา เป็นต้น ส่งผลให้ชุมชนจะเข้มแข็ง มีองค์ประกอบเครือข่ายความร่วมมือ ผ่านชุมชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนเครือข่ายทางวิชาการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)