ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการนักศึกษากับประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • PhrakhrusangkarakYodsawi Pamutto มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ขบวนการนักศึกษา, การเมือง, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

         การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการความเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และนำเสนอแนวโน้มความเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการนักศึกษากับประชาธิปไตยในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ตั้งแต่ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา ขบวนการนักศึกษาก็อยู่ในยุคของเผด็จการ ส่งผลให้พลังนักศึกษาที่เริ่มก่อตัวขึ้นถดถอยสู่ภาวะซบเซา จนแทบไม่มีบทบาททางการเมืองที่สําคัญอย่างใดอีกหลายปี จากนั้นเข้าสู่พุทธทศวรรษ 2510-2520 อธิบายถึงพัฒนาการของขบวนการนักศึกษาภายใต้ระบอบเผด็จการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากภายใต้การเมืองแบบปิดที่ไม่เปิดโอกาสให้สถาบัน และพลังทางการเมืองอื่น ๆ มีพื้นที่พัฒนา ทำให้ขบวนการนักศึกษาเป็นเพียงกลุ่มพลังชนชั้นกลางเดียวที่มีความสำคัญนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อเข้าสู่พุทธทศวรรษ 2530-2550 พบว่า ขบวนการนักศึกษาไม่ได้เป็นพลังหลักในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกต่อไป พวกเขากลายเป็นเพียงพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ให้กับพลังการเมืองอื่น ที่เติบโตขึ้นมาแทนที่ ซึ่งเป็นความถดถอยทางการเมืองของขบวนการนักศึกษา เข้าสู่ยุคปัจจุบัน พบว่า นักศึกษาเริ่มเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มเล็กในยุคเผด็จการทหาร จากนั้นเข้าสู่การเลือกตั้งที่มีกติกาไม่ยุติธรรมนำไปสู่การเคลื่อนไหวใหญ่ ต่อสู้ด้วยยุทธวิธีต่าง ๆ ของนักศึกษาจนถึงขณะนี้ ส่วนแนวโน้มความเคลื่อนไหวทางการเมืองในอนาคต พบว่า 1. แนวโน้มด้านสาเหตุ ด้านข้อเรียกร้อง และด้านยุทธวิธีการเคลื่อนไหว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขโครงสร้างโอกาสทางการเมือง 2. แนวโน้มด้านการระดมทรัพยากรขึ้นอยู่กับความชอบธรรมของข้อเรียกร้อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)