รูปแบบการพัฒนาการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Rangsee Patlee -
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กฤษณะ สินไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กัญชา, การเปิดเสรี, การพัฒนา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและปัญหาในการนำนโยบายการเปิดเสรีกัญชามาใช้ในประเทศไทย 2) วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคการพัฒนาการเปิดเสรีกัญชามาใช้ในประเทศไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 คน ตรวจข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบทและปัญหาในการนำนโยบายการเปิดเสรีกัญชามาใช้ในประเทศไทย แยกเป็น 1.1) ด้านสมรรถนะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติยังขาดความพร้อม 1.2) ด้านการควบคุมความสำเร็จของนโยบาย ขาดแผนแม่บทและแผนปฏิบัติสำหรับควบคุมติดตาม 1.3) ด้านความร่วมมือและต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ภาครัฐต้องให้ความรู้ที่ชัดเจน 1.4) ด้านอำนาจและความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นปฏิสัมพันธ์ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง และ 1.5) ด้านความสนับสนุนและความผูกพันขององค์กร หรือบุคคลสำคัญในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ขาดการบูรณาการการทำงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2. จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคการพัฒนาการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทย พบว่า วิธีใช้จุดแข็งเพื่อให้ได้รับโอกาสมากที่สุด เป็นเรื่องการรวมศูนย์อำนาจ กำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน วิธีการใช้จุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคเป็นการสนับสนุนงบประมาณและการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อย่างทั่วถึง การลดจุดอ่อนเพื่อเพิ่มโอกาส คือ การมีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จที่เดียวจะลดขั้นตอนและเอกสารในการอนุญาต และการลดจุดอ่อนหลีกเลี่ยงภาวะเป็นอุปสรรค ภาครัฐสร้างความโปร่งใสและเสมอภาค เร่งสร้างความพร้อม กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนสัมพันธ์กัน 3. รูปแบบการพัฒนาการเปิดเสรีกัญชาในประเทศไทยใช้รูปแบบ PASEP ได้แก่ 3.1) ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบายควรครอบคลุมด้านการแพทย์, เศรษฐกิจ และสันทนาการแบบพื้นที่เฉพาะ 3.2) ด้านภารกิจและมอบหมายงาน จัดให้มีหน่วยงานกลางสื่อสารและสร้างความชัดเจน 3.3) ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ปรับปรุงมาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติเป็นรูปแบบเดียวกัน 3.4) ด้านการวัดผล มีการวัดผล, ประเมิน, ทบทวน, แก้ไขปรับปรุง และสื่อสารข้อมูลผลลัพธ์ และ 3.5) ด้านมาตรการให้คุณให้โทษ มีกฎหมายควบคุม, สื่อสารการให้คุณให้โทษ มุ่งลดทอนความเป็นอาชญากรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)