การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • พัชริดา สุพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วัลลภ พิริยวรรธนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บริบูรณ์ ฉลอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธวัช พุ่มดารา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

         การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและ 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 392 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่า t-test, One - way ANOVA หรือ F-test หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff’s Test) ผลการศึกษาพบว่า

          การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.92) ข้อที่มีค่าระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการร้องเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.05) ด้านการชุมนุมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
(= 3.97) และด้านการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.84) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการแสดงความคิดเห็น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
(= 3.80) ผลการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาพบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน  มีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันด้านเพศ สำหรับการวิเคราะห์รายคู่พบว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพศหญิงมีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านผลตอบแทนมากกว่าเพศชาย ด้านอายุ พบว่า
การมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันสรุปได้คือนักศึกษาที่อยู่ในระดับชั้นปีที่ 4 มีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่านักศึกษาที่อยู่ในระดับชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการวิจัย พบว่า มหาวิทยาลัยควรเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย ควรเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)