แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
รูปแบบการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง, ขั้นตอนและเงื่อนไขการมีส่วนร่วมทางการเมือง, แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของนักศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เขียนนำเสนอประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นหลักในการศึกษาในครั้งนี้คือ รูปแบบการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งมีรูปแบบการมีส่วนร่วมที่สำคัญ 2 รูปแบบ คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเป็นทางการ คือ มีกฎหมายรองรับให้กระทำได้และการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบไม่เป็นทางการ คือ กิจกรรมที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ การมีส่วนร่วมนั้น ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา การวางแผนดำเนินกิจกรรม การลงทุนและการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของนักศึกษามีแนวทางที่สำคัญประกอบด้วย การรับรู้ (Perception) การมีทัศนคติ (Attitude) การเป็นตัวแทน (Representation) มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจ (Trust) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Information-sharing) ฉันทามติ (Consensus) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ความประสงค์หรือความมุ่งหมาย (Purpose) การประเมินผล (Appraisal) ความโปร่งใส Transparency) ความเป็นอิสระ (Independence) ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง (Onward-doing) เครือข่าย (Network) ทั้งนี้ในการเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษานั้น ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ไม่ใช้ความรุนแรง และอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายที่กำหนดไว้