A โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การซื้อรถยนต์ไฟฟ้า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคคลทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 160 ตัวอย่าง โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ได้ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.726 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.884 ผลการศึกษาพบว่า (1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ c2 = 279.51, df = 204, c2/df = 1.370, P-value = 0.0648, RMR = 0.018, GFI = 0.935, RMSEA = 0.032 และ CFI = 0.976 แสดงให้เห็นว่า ค่าสถิติความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และ (2) ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลรวมต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุดคือ การสื่อสารทางการตลาดบูรณาการ รองลงมาคือ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมต่อตัวแปรการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครน้อยที่สุดคือ ทัศนคติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.84, 0.83 และ 0.36 ตามลำดับ ในขณะที่การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสื่อสารทางการตลาดบูรณาการ มากที่สุด รองงลงมาคือ ทัศนคติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.74 และ 0.12 ตามลำดับและพบว่า ทัศนคติ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสื่อสารทางการตลาดบูรณาการโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.76