ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

ผู้แต่ง

  • kanchanat chuentragul -
  • วิจิตรา ศรีสอน วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, แรงจูงใจ, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 2. ระดับทัศนคติในการปฏิบัติงาน 3.ระดับเจตคติในการปฏิบัติงาน 4.  ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจ เจตคติ ที่มีประสิทธิผลของข้าราชการและ 5. ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของข้าราชการใน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 95% หรือ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson Correlation (r) ผลการศึกษาพบว่า

            ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการในภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.45) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านผลการปฏิบัติงาน (= 4.71) ด้านการขาดงาน(= 4.59) ด้านผลิตภาพของบุคคล (= 4.45) ด้านการตั้งใจจะลาออก (= 4.36) ด้านทัศนคติของบุคคล (= 4.33) และด้านความเครียด (= 4.28) ระดับเจตคติในการปฏิบัติงานของข้าราชการพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.91) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือเรียงลำดับ ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กร (= 4.17) การมีส่วนร่วมในการทำงาน (= 4.07) และความพึงพอใจในการทำงาน (= 3.50) ระดับทัศนคติในการปฏิบัติงานของข้าราชการพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.61) ข้อที่มีความค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือเรียงลำดับได้แก่ การได้รับการยอมรับนับถือ (= 3.90) ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (= 3.58) ความรับผิดชอบ (= 3.57) ความสำเร็จในการทำงาน (= 3.52) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจ เจตคติ ที่มีประสิทธิผลของข้าราชการพบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง โดยมีค่า Sig (2-tailed) เท่ากับ 0.35 ซึ่งมากกว่า 0.05 นั่นคือปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) ยอมรับสมมติฐานรอง (H1) ความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.72 โดยแสดงว่าตัวแปรทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน

          ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของข้าราชการพบว่าควรมีการพัฒนาในด้านผลิตภาพของบุคคลผลการปฏิบัติงานการขาดงานการตั้งใจจะลาออกทัศนคติของบุคคล และความเครียด และการส่งเสริมทรัพยากรในการปฏิบัติงานให้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของบุคลากร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)