บทบาทของภาคประชาสังคมต่อการพัฒนาป่าในเมือง : กรณีศึกษาพัฒนาการของภาคประชาชน ต่อป่าดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี

The Role of Civil Society in Urban Forest Development: A Case Study of the Development of the People's Sector towards Dong Fah Huan Forest, Ubon Ratchathani

ผู้แต่ง

  • ประกาศิต เศวตธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาคประชาสังคม, การพัฒนา , ป่าในเมือง

บทคัดย่อ

                    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เรื่อง บทบาทของภาคประชาสังคมต่อการพัฒนาป่าในเมือง : กรณีศึกษาพัฒนาการของภาคประชาชน ต่อป่าดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนและการเข้าไปใช้ประโยชน์ของประชาชนจาก สวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ดงฟ้าห่วน) 2. เพื่อศึกษาพัฒนาการและรูปแบบของภาคประชาชนในการมีบทบาทต่อการพัฒนาป่าในเมือง 3. เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการเข้ามามี บทบาทต่อการพัฒนาป่าในเมือง ของภาคประชาสังคม การวิจัยนี้ จะใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เป็นส่วนเสริม ผลการวิจัยพบว่า 1. ดงฟ้าห่วนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของครัวเรือนของทั้ง 3 หมู่บ้าน สำคัญ โดยที่ประชาชนมีการใช้ประโยชน์จ จากการเก็บเห็ดในระดับปานกลาง รองลงมาคือไปพักผ่อนหย่อนใจในระดับปานกลาง และการเก็บน้ำยางในระดับ 2. ภาคประชาสังคมในพื้นที่นี้มีจำนวน ร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด โดยก่อตัวจากความขัดแย้งกับรัฐ และมีความห่วงใยร่วมกันต่อดงฟ้าห่วน เป็นการร่วมตัวอย่างหลวม ๆ  และเป็นอิสระต่อกัน แต่มีสิ่งที่เชื่อมโยงกัน คือ มีผีปู่ตาร่วมกัน ใช้วัดและโรงเรียนร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ผ่านวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน การแข่งกีฬา และการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์  เป็นกลุ่มที่มีลักษณะลักษณะปิด มีบทบาทในการกดดันการทำงานของรัฐ การทำหน้าที่แทนรัฐในบางส่วน 3. ประชาชนมีความต้องการในการเข้าไปในพื้นที่ป่าดงฟ้าห่วนมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก มีพืชผัก และสมุนไพรจำนวนมาก โดยมีการกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจน ในรูปแบบของป่าชุมชน ส่วนการพัฒนาในรูปแบบ  เส้นทางจักรยาน การปลูกป่าไม่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่มากนัก นอกจากนี้ประชาชนยังเห็นด้วยมาก ที่จะมีการ จัดตลาดนัดชุมชน เทศกาลอาหาร วิ่งมินิมาราธอน  ปั่นจักยาน เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจ แต่ดงฟ้าห่วนต้องพัฒนา ด้านความสะอาด ความรมย์รื่นสวยงาม ไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด สัญญาณอินเตอร์เน็ต จำนวนที่นั่งพักที่เพียงพอ  และเห็นด้วยน้อยกับการจัดทำสนามเด็กเล่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)