A แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนรุ่นใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ณิชานาฎ บรรจงจิตร นักวิจัยอิสระ
  • อาณดา วณิชทักษ์ นักวิจัยอิสระ
  • พรพงษ์ ปอประพันธ์ นักวิจัยอิสระ
  • กาญจนารถ แก้วทิพย์ นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

สื่อสารออนไลน์, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, เยาวชนรุ่นใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนรุ่นใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนรุ่นใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีอายุ 15-18 ปี ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างตัวอย่างแบบสะดวก ได้ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.875และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.913 ผลการศึกษาพบว่า (1) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ c2เท่ากับ 55.96, df เท่ากับ 29, ค่า c2/df เท่ากับ 1.929, ค่า p-value เท่ากับ 0.476, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.000 ค่า GFI เท่ากับ 0.966 และ ค่า AGFI เท่ากับ 0.943 ซึ่งแปลผลได้ว่าค่าทั้งหมดผ่านเกณฑ์ตามค่าดัชนีชี้วัดความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล และค่า R2เท่ากับ 0.416แปลผลได้ว่าตัวแปรทุกตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนรุ่นใหม่ได้ร้อยละ 41.60และ (2)ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนรุ่นใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีคือ การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.190และพบว่า การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกผ่านการเปิดพื้นที่สื่อออนไลน์ของเยาชนรุ่นใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.474ขณะที่ตัวแปรแฝงคือ เปิดพื้นที่สื่อออนไลน์ของเยาชนรุ่นใหม่ส่งอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนรุ่นใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.360

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)