วิเคราะห์รูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ช่วยคุ้ม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบ วิธีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2) ศึกษาผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และ 3) นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 18 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ 3 คน  ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 3 คน เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 3 คน สมาชิกวุฒิสภา 3 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน จากการศึกษาวิจัย พบว่า 1. รูปแบบ วิธีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พบว่า พบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและจากบัญชีรายชื่อเอาไว้อย่างชัดเจน โดยได้กำหนดรูปแบบการเลือกตั้งระบบใหม่หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า แบบจัดสรรปันส่วนผสม ตามแบบอย่างของประเทศเยอรมนี ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้นำมาใช้เป็นหลักคิดในการวางระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ 2. ผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พบว่า ระบบการเลือกตั้งในระบบผสมแบบเสียงข้างมาก ส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบในสนามการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม พบว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ได้รับสัดส่วนการเลือกตั้งลดลงโดยพบว่า จำนวนที่ลดลงคือจำนวนผู้สมัครจากระบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองขนาดกลางจะมีที่นั่งเพิ่มขึ้นในระบบการเลือกตั้งแบบระบบผสมแบบเสียงข้างมาก ซึ่งการเลือกตั้งระบบใหม่ส่งผลต่อการเกิดรัฐบาลแบบผสมอย่างมีนัยสำคัญ และ 3. แนวทางในการปรับปรุงระบบการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทย พบว่า การปฏิรูประบบการเลือกตั้งใหม่ที่ทำให้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนมีความหมายอย่างแท้จริง ที่เรียกกันว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม จะจูงใจให้ประชาชนมาเลือกตั้งมากขึ้นเพราะเป็นการตัดสินใจเลือกจากบัตรสองใบที่ส่งผลให้ได้ทั้งคนและพรรคที่ต้องการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)