The อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ ฉิมพิทักษ์ นักวิจัยอิสระ
  • กนิษฐ์ กนิษฐ์ นักวิจัยอิสระ
  • ไพลิน เทียนสุวรรณ นักวิจัยอิสระ
  • ชาญณรงค์ สัจจเทพ นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, การดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองนนทบุรี และ 2) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 275 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.847 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.341, S.D. = 0.227) และ 2) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเอื้อ โดยมีประสิทธิภาพการทำนายเท่ากับ 0.023 และการรับรู้ในเรื่องการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีประสิทธิภาพการทำนายเท่ากับ 0.050 ในขณะที่พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ การรับรู้ในเรื่องการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ปัจจัยเอื้อ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.382, 0.368, 0.113 และ 0.238 ตามลำดับ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.382 และ 0.238 ตามลำดับ มีประสิทธิภาพการทำนายเท่ากับ 0.615 (R2 = 61.5%) ผลการวิจัยสะท้อนให้ผู้สูงอายุต้องตระหนักถึงการรับรู้ในเรื่องการดูแลตนเอง และควรได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)