การส่งเสริมนโยบายภาครัฐต่อการส่งออกวัฒนธรรมไทย กรณีศึกษา : การส่งออกละครโทรทัศน์ไทย

ผู้แต่ง

  • Araya Manmongkol - Suan Sunandha Rajabhat University

คำสำคัญ:

การส่งเสริมนโยบายภาครัฐ , การส่งออกวัฒนธรรมไทย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้เกิดความนิยมสื่อบันเทิงของไทยเกิดขึ้นในหลายประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน เอเชียตะวันออก ยุโรป สหรัฐอเมริกา ในส่วนของละครไทย พบว่า มีหลายประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ที่นำละครไทย ไปเผยแพร่ ในช่องทางสถานีโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งนำละครไทย ไปแปล ใส่คำบรรยายในภาษาท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ในสื่ออินเทอร์เน็ต

          งานวิจัยชิ้นนี้ ศึกษาถึงปัจจัยส่งผลต่อการเกิดขึ้นของความนิยมละครไทยในภูมิภาค ช่องทางการบริโภค ละครไทยในต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาทำความเข้าใจว่า ความแตกต่างในบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของแต่ละประเทศ ส่งผลต่อการเปิดรับ ตีความ และสร้างความหมายให้กับการบริโภคละครไทย แตกต่างกันอย่างไร ศึกษามิติใหม่ของนโยบายรัฐในการเสริมสร้างการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไทย เพื่อค้นหาศักยภาพและมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทย

          ปัจจัยที่ทำให้ความนิยมละครไทยเพิ่มมากขึ้น ในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา มาจากความเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศในภูมิภาค ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงพัฒนาการทางด้านอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในประเทศไทยและประเทศปลายทาง ผู้ชมละครโทรทัศน์ไทยในภูมิภาครับชมละครไทยผ่านช่องทางที่หลากหลาย มีทั้งช่องทางแบบไม่เป็นทางการและแบบเป็นทางการ

          ความรู้สึกใกล้ชิดทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ชมในต่างประเทศชื่นชอบละครไทย นอกเหนือจากความชอบในเนื้อหาที่หลากหลาย พล็อตเรื่องที่เข้มข้นและการแสดงที่เน้นการแสดงอารมณ์อย่างชัดเจน ผู้ชมละครโทรทัศน์ไทยในต่างประเทศ มีรสนิยมแตกต่างกัน ในระดับของปัจเจกบุคคล การรับรู้และตีความละครไทยขึ้นอยู่กับ เพศ วัย การศึกษา สถานะทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรม ของปัจเจกบุคคล ในระดับประเทศหรือชุมชน การรับรู้และตีความละครไทย ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของแต่ละประเทศ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)