ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึกการไม่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กรณีศึกษาเฉพาะสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิทักษ์ ศรีศิล นักวิจัยอิสระ
  • พรรณรักษ์ ขันทะสีมา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การสร้างจิตสำนึก, พฤติกรรมไม่กระทำความผิด, สำนักงานสรรพสามิตเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการสร้างจิตสำนึก และพฤติกรรมบุคคลต่อการไม่กระทำความผิด 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมบุคคลต่อการไม่กระทำความผิด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมบุคคลต่อการไม่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2560 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 384 คน ตามแนวคิดของ Cochran et al., (1953) และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเอ็นเทอร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการสร้างจิตสำนึก และปัจจัยพฤติกรรมการไม่กระทำความผิด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81 และ 4.09 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .743 และ .524 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา และอาชีพ ส่งผลต่อพฤติกรรมการไม่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ในสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยการสร้างจิตสำนึกมีผลต่อการไม่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ในสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าพยากรณ์อยู่ที่ .442 หรือคิดเป็น 44.20 เปอร์เซ็นต์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)