ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนเขตเทศบาลในจังหวัดพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษพื้นที่ ภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ไชยะ เทพา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเลือกตั้ง,นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด,พื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษพื้นที่ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1). เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง            2). เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกตั้งโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและ3). เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนเขตเทศบาลในจังหวัดพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 90,865 คน คํานวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ 1,188 คนโดยแยกเป็น เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 397 คน เทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 394 คน และเทศบาลนครระยองจำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามจำนวน  3 ตอนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยการหาค่า จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย ค่า(t-test) และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพบว่าในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  (= 3.66, S.D.=0.75) ข้อที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ  (= 3.89, S.D.=0.72)  ปัจจัยด้านพรรคการเมืองที่สังกัด (= 3.66, S.D.=0.71)  ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร  (= 3.60, S.D.=0.75)  ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด คือปัจจัยด้านนโยบายของผู้สมัคร (= 3.57, S.D.=0.85) ผลการศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกตั้งพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกันการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  ยกเว้นด้านปัจจัยด้านพรรคการเมืองที่สังกัด  อายุแตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  ยกเว้น ปัจจัยด้านนโยบายของผู้สมัคร  ระดับการศึกษาแตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ  ส่วนอาชีพและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกตั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาการตัดสินใจเลือกตั้งพบว่าพิจารณาจาก การเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี เป็นผู้มีการศึกษาดี เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน  ได้เข้าร่วมจัดเวทีปราศรัยตามจุดสำคัญต่าง ๆ  เลือกจากการมีนโยบายที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นโยบายมุ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม  เลือกจากสังกัดพรรคการเมืองที่ชื่นชอบ และสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)