แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาคอุตสาหกรรมไทย

ผู้แต่ง

  • พัฒนพงษ์ สุหญ้านาง นักวิจัยอิสระ
  • ทิฆัมพร พันลึกเดช มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การจัดการการผลิต, อัญมณีและเครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาคอุตสาหกรรมไทย และ 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาคอุตสาหกรรมไทย เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 285 ราย และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน จากผู้ประกอบการ ผู้บริหารหน่วยงานรัฐ และนักวิชาการ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.812 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.834 ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีน้ำหนักของความสัมพันธ์ด้านความรู้ความสามารถของพนักงาน มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการออกแบบและพัฒนาการผลิต ด้านจัดการเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต และด้านการวางแผนและการควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับโดยทั้ง 4 องค์ประกอบ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า องค์ประกอบทั้งสี่เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อการจัดการการผลิตสมัยใหม่โดยการผลิตที่ผสมผสานกันระหว่างแรงงานฝีมือกับเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถพัฒนายกระดับฝีมือแรงงงานให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความรู้ทักษะและความสามารถด้วยระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนารูปแบบชิ้นงานเครื่องประดับให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)