ผลสัมฤทธิ์การพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดีเด่น) กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พระครูวราศักดิ์ เรือนสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
​ บทความวิจัยนี้ นำเสนอการศึกษาผลสัมฤทธิ์การพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดีเด่น) กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่บรรลุผลสัมฤทธิ์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ การพัฒนา และ 3) หาแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้สูตร IOC ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา 6 แห่ง จำนวน 30 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการในการกำหนดยุทธศาสตร์และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ จังหวัดพะเยา มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวิเคราะห์นโยบายและวิสัยทัศน์ (2) การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (3) การกำหนดแผนดำเนินงาน (4) การกำหนดยุทธศาสตร์ (5) การลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ (6) การสร้างความเป็นเจ้าของ และ (7) การขยายผลการดำเนินงาน 2) ปัจจัยที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ มี 5 ปัจจัย ดังนี้ (1) ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้าง เข้มแข็งและไม่รวมอำนาจ (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ (3) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น (4) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ (5) ทักษะ ความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และ 3) แนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบผลสัมฤทธิ์ จังหวัดพะเยา จากการสังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย คือ ตัวแบบ FGCE มีองค์ประกอบ ได้แก่ (1) การกำหนดยุทธศาสตร์และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ (2) การวางแผนยุทธศาสตร์ภาครัฐ (3) องค์ประกอบที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ และ (4) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานราชการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)