ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์

ผู้แต่ง

  • พัฒนพงษ์ สุหญ้านาง นักวิจัยอิสระ
  • ทิฆัมพร พันลึกเดช มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • วิรุฬห์รัตน์ ผลทวีโชติ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การผลิตแบบลีน, การดำเนินงาน, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร ผู้จัดการ กลุ่มสถานประกอบการผู้ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.859 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลวิจัยพบว่า 1) ผลตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ( = 68.943, /df = 1.209, p-value = 0.534, GFI = 0.972, AGFI = 0.952, RMSEA = 0.022 และ CFI = 0.998) และ 2) ประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยการผลิตแบบลีน (LEAN manufacturing) รองลงมาคือ ปัจจัยเจตคติที่มีต่อระบบการผลิตแบบลีน (Attitude) และปัจจัยการบริหารคุณภาพ (TQM) โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.87, 0.84 และ 0.69 ตามลำดับ ผลการวิจัยสะท้อนให้ว่า การกำจัดความสูญเปล่าในการผลิต โดยการรักษาระดับสินค้าคงคลัง (Inventory) ให้มีปริมาณที่น้อย ใช้พนักงานน้อย ใช้พื้นที่ไม่มาก ลดจำนวนซัพพลายเออร์ และลดความผันแปรภายใน ล้วนเป็นการลดต้นทุนและเป็นการจัดการทรัพยากรให้เหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29