มูลค่าเพิ่มสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้แต่ง

  • ธีรเดช ชื่นประภานุสรณ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • องค์อร สงวนญาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ประกฤติ พูลพัฒน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • สุทธาสินี เกสร์ประทุม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • วราธร อภิรัตน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

มูลค่าเพิ่ม, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, แนวทาง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม 3) พัฒนาและประเมินแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 300 คน ด้วยวิธีการคัดเลือกของเครซี่และมอร์แกน (1970) ค่าคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่าง 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และสัดส่วนของลักษณะประชากรที่สนใจเท่ากับ 0.5 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนาและประเมินแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้ข้อมูล 9 ท่านและผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่าน ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง

      ผลการวิจัยพบว่า 1. มูลค่าเพิ่มสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (   =3.72 S.D. 0.44) โดยทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและหน่วยงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. โดยทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม 3) ผลการพัฒนาแนวทางทั้ง 4 คือ ก) การยกระดับคุณภาพและความสามารถด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ข) การส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ค) การพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพเพื่อการก้าวสู่สังคมแห่งการทำงานสมัยใหม่และ ง) การพัฒนาเครือข่ายและการสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมศักยภาพและความสามารถทักษะต่างๆที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษทั้งในและต่างประเทศ และ 5) ผลการวิพากษ์แนวทาง พบว่าแนวทางทั้ง 4 มีความสอดคล้องกับพลวัตรทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งการทำงานในโลกปัจจุบันและอนาคต

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29