ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งในตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
กระบวนการมีส่วนร่วม, พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้ง, การเลือกตั้งบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้ง 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ภายในตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทุบรี จำนวน 384 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Cochran et al., (1976) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเอ็นเทอร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยกระบวนการมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้ง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.11, S.D. = 532) , (4.14, S.D. = 582) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยกระบวนการมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ การพัฒนา การตรวจสอบ และการตัดสินใจ ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้งในตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .495 หรือคิดเป็น 49.50 เปอร์เซ็นต์