การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวบนฐานเชิงนิเวศวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วรรณา คำปวนบุตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพของชุมชนในด้านการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและชุมชน 8 หมู่บ้าน ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Method)ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research-PAR) โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึกกับเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส ปราชญ์ชาวบ้านด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูภูมิปัญญางานหัตถกรรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครประจำตำบล อบต. และกรรมการกองทุนพระธาตุ การสนทนากลุ่มย่อยกับเจ้าอาวาส อบต. กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำ ตำบล รพสต.(อสม.) ประธานกลุ่มสตรี ประธานและสมาชิกกลุ่มอาชีพ การจัดเวทีประชุม การทดลองฝึกปฏิบัติการท่องเที่ยวและการสำรวจเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 29 คน ที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลพระธาตุ

ผลการวิจัยพบว่า 1)ด้านบริบทชุมชนและนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนตำบลพระธาตุ มีการสืบทอดวัฒนธรรมด้านการเลือกพื้นที่ตั้งชุมชนและแหล่งน้ำ รวมถึงภูมิปัญญา ประเพณีและพิธีกรรมที่เกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างธรรมชาติกับความเชื่อ มาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นกลุ่มคนลาวที่ได้อพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ในอาณาจักรศรีสัตตนาคนหุต ลาวล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 2)ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่าชุมชนตำบลพระธาตุมีแหล่งท่องเที่ยว 4 กลุ่ม โดยเรียงลำดับจากกลุ่มที่มีศักยภาพระดับมากไปหากลุ่มที่มีศักยภาพระดับน้อย ได้แก่ (2.1)แหล่งท่องเที่ยวในฐานศาสนาและความเชื่อ เช่น สิมโบราณ กู่น้อย พระธาตุนาดูน (2.2)แหล่งท่องเที่ยวในฐานเศรษฐกิจชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรแปรรูป ผ้าสไบขิด ฟาร์มเลี้ยงกบ (2.3)แหล่งท่องเที่ยวในฐานวัฒนธรรม เช่น เฮือนอีสานในสวนวลัยรุกขเวชพิพิธภัณฑ์นครจัมปาศรี (2.4)แหล่งท่องเที่ยวในฐานทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าดอน ปู่ตาและป่าชุมชน 3)ศักยภาพของชุมชนในด้านการมีส่วนร่วม พบว่าผู้นำชุมชนและชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้านมีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวในระดับมาก-มากที่สุด ในด้านที่พักแรมและอาหาร และด้านการให้บริการของบุคลากรในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 46.46 และ 63.72 ตามลำดับ


Participation of Communities on The Cultural Ecotourism Management at the Area of Pratat Sub-district, Nadoon District, Mahasarakham Province.

The purposes of this research were study about the potentials of tourism resources and the potentials of communities in terms of participation on leaders and communities of 8 villages for managing the tourism resources at the area of Pratat Sub-district, Nadoon District, Mahasarakham Province. This research methodology was carried out by Mixed Method which included the Quantitative Research, Qualitative Research, focused on Participatory Action Research Process(PAR).The tools of this research consist of In-depth interviews with monk dean, abbots, the local wise men who are expert about history and local wisdom, local knowers of handicraft, village chief, village headman, the community volunteer, personnel officer of Subdistrict Administration Organization(SAO), and committee on Pratat Nadoon mutual fund. The focus group discussions with abbots, personnel officer of SAO, village chief, village chief assistants, village headman, village headman assistants, subdistrict medical practitioner, village health volunteer(VHV), women group leader, occupational group leaders and occupational group. The public discussion forum with local participants. Tourism trial activity with 29 tourists and survey study about tourists satisfaction on the attraction of tourism destinations at the Tambon Pratat communities.

The research results revealed as follows: 1) according to the communities and eco-culture aspect of Tambon Pratat community, the cultural inheritance of community area selection and water resources, as well as wisdom, tradition, and rituals were originated by the relationship between nature and belief from Lao group ancestors who evacuated from Champasak City in the Srisattanakanahut Lao Lan Chang Kingdom about 22-23 B.E., 2) according to the potentials of tourism resources, the community of Tambon Pratat had 4 groups of tourism resources arranged by much potential groups to few potential groups in terms of (2.1)Religion and belief ; Sim I-san, Ku-Noi, Pratat Nadoon (2.2)Community economy ; Processed herbs, Sabaikit, Frog farms, (2.3)Culture ; Huan I-san, Nakorn Chambasri Museum (2.4) Natural resources ; Don-Puta and Community forests 3)according to the participation, community leaders and all 8 villages of Tambon Pratat community had the potentials of tourism management in the tourism resources at the good level - very good level. According to the each aspect, residence and food, and the personnel services in the community were at the average of 46.46 and 63.72 , respectively.

Article Details

How to Cite
คำปวนบุตร ว. (2014). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวบนฐานเชิงนิเวศวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. Area Based Development Research Journal, 6(3), 5–22. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/96943
Section
Research Articles