การพัฒนารูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาภัยยาเสพติดในชุมชนบ้านเอื้อม ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาภัยยาเสพติดในชุมชนบ้านเอื้อม จังหวัดลำปาง และ 2)ศึกษารูปแบบสื่อที่สามารถแก้ปัญหาภัยยาเสพติดในชุมชนได้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ชาวบ้านเอื้อม 100 ราย และผู้ให้ข้อมูลหลัก 49 ราย ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนโป่งหลวงวิทยารัชมังคลาภิเษก 24 ราย นักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแม่เฟือง 5 ราย ผู้อำนวยการและครูของทั้ง 2 โรงเรียน 4 ราย ตำรวจโครงการ D.A.R.E. 1 ราย อบต. 2 ราย ผู้นำชุมชน 3 ราย ชาวบ้านเอื้อม 10 ราย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดย การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การเขียนเรียงความ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสำรวจความคิดเห็น แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำเสนอรูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาภัยยาเสพติดในชุมชน

ข้อค้นพบสำคัญมีดังนี้ 1. การพัฒนารูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาภัยยาเสพติดของชุมชนบ้านเอื้อม ที่ประสบผลสำเร็จควรเกิดจากความร่วมมือกันของชุมชุนโดยแนวทางการพัฒนา พบว่า ยาเสพติดเป็นที่มาของปัญหาของชุมชน การที่จะทำให้ชุมชนมีความสงบสุขต้องแก้ที่ปัญหายาเสพติด และคิดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดของชุมชนอยู่ในระดับรุนแรงที่สุด ส่วนในโรงเรียนให้ความเห็นว่ามีปัญหาไม่ค่อยรุนแรง แม้หน่วยงานท้องถิ่นจะมีมาตรการและวิธีการเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งมีการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียด้วยความร่วมมือของชาวบ้านและเยาวชน ที่มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินการ และเยาวชนที่มีความพร้อมทางทักษะการผลิตสื่อเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งมี 1)ขั้นตอนการอบรม 2) ขั้นก่อนการผลิต 3) ขั้นการผลิต 4) ขั้นหลังการผลิต 5) ขั้นการเผยแพร่ ผลการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนในชุมชนคิดว่าสื่อฯสามารถส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในชุมชนสูงสุด ร้อยละ คิดเป็น32.65 รองลงมา คือ ส่งผลกระทบต่อเยาวชน คิดเป็นร้อยละ 27.89 ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย X = 3.86 ค่า S.D. = 0.73 2. ได้รูปแบบสื่อมัลติมีเดียประเภทการโฆษณารณรงค์เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาภัยยาเสพติดในชุมชน รวม 4 เรื่องที่นำเสนอแง่มุมการแก้ปัญหายาเสพติดที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1) เรื่อง “คำอธิษฐาน” นำเสนอการแก้ปัญหาอย่างผิดๆของวัยรุ่น 2) เรื่อง “คนรุ่นใหม่” นำเสนอการสูบบุหรี่ไม่ใช่ภาพลักษณ์ที่ดีของคนยุคใหม่ 3) เรื่อง “ทางเลือก” นำเสนอปัญหายาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว 4) เรื่อง “โอกาส” นำเสนอการให้โอกาสผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด


Development of Multimedia Productions for Drugs Problem Solution in Baan-uem Village Muang District, Lampang Province.

This research is a mixed research (Mixed Methods) between quantitative research and qualitative research. Using a participatory action research. (Participatory Action Research: PAR) that purpose to 1) Development of Multimedia Productions for Drugs Problem Solution in Baan-uem Village Muang District Lampang 2) Study type of media that can be used to solving drugs problem in the community.The target population of this study was 100 people of Baan-uem Village community when the sample groups included 49 concerned community members divided into many groups; 24 students of Pongloungwittaya Rathchamungkalapisak school, 5 students of Bann-Mae fueng, 2 directors and 2 teachers of the schools, 1 D.A.R.E. police staff, 2Bann-uemm officer, 3community leaders, 10 Bann-uemm villagers. Qualitative data were collected by observation, interview, focus group discussion, essay writing. Quantitative data collection using surveys, questionnaires satisfaction, pretest – posttest. The statisticsused for data analysis are percentage( ), mean(X) and descriptive analysis to present the multimedia production that can be used to solving drugs problem in the community.

Findings as follows: 1. The development of Multimedia Productions for Drugs Problem Solution in Baan-uem Village was success ought to use the collaboration of the community development approach. Found that drugs as a source of problems for the community. The community will have peace must solve the drug problem and the study indicate that the spread of drugs in the community is most severe. But in school are less violent. Although the local government has taken steps and how to solve the drug problem, but was not as successful. Until the development of multimedia, with the cooperation of the residents who are involved in planning the operation and youth who have media production skills as producers. By the step: 1) The training process to increase their knowledge, 2) pre-production stage 3) production stage 4) post-production stage 5) distribute. Survey results and satisfaction with the media. Found that people in the community think that the media can affect people in the community, the highest percentage was 32.65. Minor, media can affect youth percentage was 27.89. The results of the satisfaction survey found that overall satisfaction level in the average value of X = 3.86 SD = 0.73.

2. Type of media is multimedia advertising campaign to be used in solving the drug problem in the community. There are 4 advertising stories is the presentation aspects of drug solutions differ as follows. 1) “Kum A Teetan” offers a solution in wrong way of a teenager. 2) “Konroon Mai” offers smoking is not good image of the modern age 3) “Tang luang” offers drug problem that affects families. 4) “O-kad” offering opportunities people who had been using drugs.

Article Details

How to Cite
บัวกนก ฟ. ฌ. (2014). การพัฒนารูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาภัยยาเสพติดในชุมชนบ้านเอื้อม ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. Area Based Development Research Journal, 6(3), 61–78. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/96958
Section
Research Articles