ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชน บางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพและปรับใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทุนทางสังคมที่มีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของประชาชน พื้นที่วิจัยอยู่ใน 5 หมู่บ้านในตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประชากรกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่ และสมาชิกหมู่บ้านละ 10 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้นำชุมชนทั้ง 5 หมู่บ้าน
ผลการศึกษาพบว่าตำบลบางนางลี่มีทุนทางสังคมที่สำคัญคือ ทุนทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ซึ่งมี แหล่งน้ำตามธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่ประชาชนสร้างขึ้นที่สมาชิกในหมู่บ้านใช้ในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต มี ทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะในการทำเกษตรครบวงจร มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเป็นจำนวนมาก เช่น มะพร้าว ส้มโอ ลิ้นจี่ สำหรับทุนทางวัฒนธรรมได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ภูมิปัญญาสมุนไพร การทำว่าวไทย ส่วนทุนบุคคลมีปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนา พิธีกรรม วัฒนธรรม การประกอบอาชีพ ผู้นำชุมชนยังมีบทบาทในการรวมกลุ่มแต่ละหมู่บ้านในการสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นตน มีองค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่ที่เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลด้านต่างๆเป็นหน่วยงานที่ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับผู้นำชุมชน และสมาชิกแต่ละหมู่บ้าน สำหรับทุนเครือญาตินั้น ชุมชนในตำบลบางนางลี่เป็นความสัมพันธ์แบบเคารพผู้อาวุโส เคารพกฎระเบียบ กติกาของหมู่บ้าน แม้หากมีคนอื่นมาจากต่างถิ่น สมาชิกแต่ละหมู่บ้านมีการทักทาย ให้การต้อนรับ รู้สึกถึงความคุ้นเคยเหมือนญาติ สำหรับแนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมที่เหมาะสมสอดคล้องและช่วยทำให้ทุนทางสังคมอยู่ในท้องถิ่นต่อไป พบว่า ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน จะต้องประสานความร่วมมือกันผลักดันให้ทุนบุคคลมีบทบาทเพิ่มขึ้น และมีการจัดการให้ประชาชนทุกหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยใช้ทุนทางสังคมเป็นตัวเชื่อมประชาชนกับกิจกรรมการพัฒนาด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ เกิดความร่วมมือร่วมใจ ตระหนักถึงความสำคัญของ ทุนทางสังคมในท้องถิ่น เกิดเป็นพลังขับเคลื่อนชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันทางสังคมทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป
Social Capital and Community Development : A Case Study of Bang Nang Li Community, Amphawa District, Samutsongkhram Province.
The Study on Social Capital and Community Development of Bang Nang Li Community, Amphawa District, Samutsongkhram Province is the quality research, provided that the Participatory Research (PAR) was applied. It aims to study the social capital influencing the community development and study the social capital guidelines consistent with local areas and people needs. The researched areas covered 5 villages of Bang Nang Li Community, Amphawa District, Samutsongkhram Province. The population comprised community leaders, village committees, subdistrict headmen, village headmen, executives of Bang Nang Li Sub-district Administrative Organization and local people, 10 persons per village. The data collection tools included participating observation, in-depth interview and focus group discussion. Informants covered executives of the Sub-district Administrative Organization, sub-district headmen and community leaders of 5 villages.
It was found from the study that the key social capitals of Bang Nang Li Sub-district were natural source of water and mad-made source of water which local people used for daily living and occupation, including abundant soil proper for a full range of agriculture. Key crops of the province were planted such as coconut, grapefruit, lichee, etc. The cultural capitals comprised Songkran festival, herb intellectual, Thai kite, etc. The human capitals consisted of local wisdom and persons with religious, rite, cultural and occupational knowledge. To strengthen and develop local communities, community leaders integrated and combined groups of each village. Bang Nang Li Sub-district Administrative Organization played an important role in driving the Sub-district’s development. It promoted collaboration between government authorities, community leaders and villagers. Regarding the bonding social capital of Bang Nang Li Sub-district, local people had seniority relationships and respected seniors, rules, regulations of the villages. They greeted and treated strangers as relatives. To ensure the consistent social capital guidelines and the sustainable social capital, the executives of Sub-district Administrative Organization, sub-district headmen, village headmen and community leaders should jointly drive roles of personnel capital. Local people of all villages should be enhanced to participate in community development. Social capital should be an intermediate between people and development activities. This will support people learning, understanding and collaboration. They will be aware of the importance of the social capital resulting in community driving power. A social immune system should be promoted and developed. The communities will become strong leading to sustainable self-reliance.