ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดน่านต่อการส่งเสริมการเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทำให้จังหวัดน่าน เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต และสรุปรูปแบบการส่งเสริมจังหวัดน่านให้เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลเบื้องต้นโดยการใช้แบบสอบถามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยผู้แทนจากสถาบันการศึกษา ศาสนาและปราชญ์ชาวบ้านในเมืองน่าน ตัวแทนหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชน จำนวนรวม 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการนำข้อมูลที่วิเคราะห์จากการวิจัยเชิงปริมาณมาเป็นแนวทางในการจัดทำคำถามสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงลึกในการสนทนากลุ่มจากผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จำนวน 30 คน จาก 30 ชุมชนในพื้นที่ศึกษาในจังหวัดน่าน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาใช้การบรรยายหรือพรรณนา มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการจัดเวทีเสวนาผู้รู้ด้านทุนทางสังคมและวัฒนธรรมก่อนจัดทำเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการสั่งสมวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาจังหวัดน่านให้คงอยู่อย่างมีเอกลักษณ์ สืบทอดเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่นบนฐานของวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นทุนที่มีคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง จากการวิจัย พบว่า ทุนทางสังคมประกอบด้วย ทุนมนุษย์ทุนสถาบัน ทุนทางปัญญา ที่ประกอบด้วยทุนทางด้านอาหาร ทุนทางด้านดนตรี และการแสดง ทุนทางด้านศิลปะ ทุนทางด้านการแต่งกาย ทุนด้านการคมนาคมอีกทั้งยังมีทุนทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเป็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่านที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ทุนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ดิน ป่าเขา แม่น้ำอากาศ ทุนทางภูมิศาสตร์ ทุนทางปัญญา และทุนด้านการท่องเที่ยว
ในด้านปัจจัยที่สนับสนุนทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทำให้จังหวัดน่านเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตผลการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ค่าเฉลี่ยของปัจจัยภายใน (4.01) มีผลสนับสนุนทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทำให้จังหวัดน่าน เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต มีค่ามากกว่าปัจจัยภายนอก (3.70) ผลการวิเคราะห์ในแต่ละปัจจัยสอดคล้องกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ในด้านรูปแบบการส่งเสริมจังหวัดน่านให้เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิต สามารถสรุป ได้ว่าชาวน่านต้องการให้มีการส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยว การฟื้นฟูวัฒนธรรมเดิม การรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอในรูปแบบกิจกรรมในทางที่ดี ในด้านการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนรับผิดชอบ คือชาวบ้าน สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ที่ต้องทำงานกันอย่างต่อเนื่อง จึงจะส่งเสริมให้จังหวัดน่านเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตได้อย่างยั่งยืน
Social and Culture Capital and the Life of Ancient City Promotion in Nan Province.
This research aimed to study social and culture capital of Nan province , to analyze the factors supporting social and culture capital in Nan province to be the living ancient city and to make a conclusion on the model for supporting Nan province to be the living ancient city. The research was done in quantitative and qualitative methods. The quantitative method was done by collecting the initial data from 16 key informants consisted of the representatives from educational institutions, and religions, local wisdoms in Nan province, including the representatives of the public and private sectors by using a questionnaire. The quantitative data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation.
The qualitative method was done by using the analyzed data from quantitative research for making questions for collecting in -depth data from formal and informal focus group discussion of 30 leaders from 30 communities in Nan Province. Content Analysis was used to analyze the qualitative data during the research by using the description based on the conceptual framework of the research
The results of the study revealed that Nan province has a long history with the transmission of the tradition and culture from the past to the present which was the important factor in the development of Nan province to be unique and to be the heritage for the transmission from generation to generation based on the beautiful culture with the value of its own capital. From the study, it appeared that the social capital consisted of human capital, organizational capital and intellectual capital such as food, music and performance, art, costume including transportation capital. Moreover, culture capital was the intellectual property and the way of life of Nan people since the past, and there were the natural resources and environmental capital including land, forest, mountain, river, and weather, as well as geographic capital, intellectual capital and tourist capital.
The factors supporting social and culture capital in Nan province to be the living ancient city appeared that the mean of internal factors (4.01) supported the social and culture capital in Nan province to be the living ancient city which was higher than the external factor (3.70). The results of the analysis of each factor related to the qualitative data in terms of the model for supporting Nan province to be the living ancient city. The supporting that they want are the tourism should be supported in eco tourism, the culture reconstruction, the conservation of ancient way of life and the public relations through the media should be presented in the good way. In terms of the effective operation for the relevant or responsible people, it was found that the villagers, institutions, including public and private sectors should work together regularly in order to support Nan province to be the sustainable living ancient city.