ภูมิปัญญาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน ไทลื้อ และลาหู่ ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

องอาจ อินทนิเวศ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรีในเชิงสังคม วัฒนธรรมและค้นหาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน ไทลื้อและลาหู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยทางดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (Ethnomusicology) ผู้ร่วมกระบวนการวิจัย ได้แก่ นักดนตรี และปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านดนตรีและมีประสบการณ์ในการเล่นเครื่องดนตรีของเผ่าตนไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 8 คน นักวิชาการดนตรีท้องถิ่น จำนวน 8 คนและผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์บันทึกภาพและเสียง ตารางแผนงานการเก็บข้อมูล สมุดโน้ตเพลง การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม การสังเกต รวมทั้งการจัดกิจกรรมเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ใน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านดอยปู่ไข่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาติพันธุ์ลาหู่ และบ้านเหล่าพัฒนา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชาวไทลื้อไทเขินอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย มีดังนี้ ภูมิปัญญาทางดนตรีประกอบการแสดงที่ปรากฏในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน ได้แก่ ฟ้อนรำนก ฟ้อนมองเซิ้ง และการขับเสิน กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อพบภูมิปัญญาดนตรีประกอบการขับร้องได้แก่ การขับลื้อ มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมกับการขับมีเพียงปี่ไม้ขม หรือปี่ลื้อ ซึ่งเป็นไม้ตระกูลไผ่ ขนาดเล็ก บทเพลงที่ใช้ในการขับลื้อ จะยึดถือเอาจากทำนองเป็นหลัก โดยช่างขับลื้อสามารถเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงได้ตลอดตามแต่ปฏิภาณไหวพริบในการประพันธ์เนื้อร้องโดยฉับพลันขณะขับร้อง ส่วนภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ พบภูมิปัญญาด้านเครื่องดนตรี ได้แก่ หน่อ หรือแคน เต๋อซือโก่ย หรือ กีตาร์ลาหู่ แล้กาชุ่ย หรือขลุ่ยไม้ไผ่ของลาหู่ และ กลองจะโก ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่คว้านกวงภายใน ลักษณะคล้ายกลองยาว

ผลการศึกษาการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรีในเชิงสังคม วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเด็นปัจจัยที่ช่วยสร้างสรรค์แนวคิด พบว่า มีการนำแนวคิดในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของตนมาเผยแพร่ ถ่ายทอดออกมาเป็นกิจกรรมรื่นเริงทางดนตรี ด้านสถานภาพของนักดนตรี พบว่า นักดนตรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก ได้แก่ อาชีพรับจ้างทั่วไป และเล่นดนตรีในช่วงที่มีเทศกาล บทบาทของดนตรีในเชิงอนุรักษ์ทางสังคม สื่อออกมาในลักษณะการบอกเล่าเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรมในอดีต การแสดงประกอบนิยมแต่งตัวในชุดพื้นเมืองดั้งเดิม มีการประยุกต์รูปทรงบ้างตามสมัยนิยม แต่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบการแสดง ภาษา การแต่งกาย ไว้ได้อย่างดีงามวัฒนธรรมทางดนตรีที่ปรากฏในพื้นที่ไม่หลากหลายเหมือนในอดีต เนื่องจากขาดแคลนเครื่องดนตรีขาดนักดนตรีที่มีความสามารถเฉพาะทางในเครื่องดนตรี การสืบทอดทางดนตรีจึงดำเนินไปอย่างไม่เป็นระบบ ไม่มีความต่อเนื่องจริงจัง ทิศทางในการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่เทศบาลบ้านดู่ ควรมีการดำเนินการจัดหาเวทีแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ เป็นรูปธรรม และมีการจัดการเรียนการสอนองค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธุ์ให้แก่เยาวชนในท้องที่

แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่นโดยให้เยาวชนเป็นแกนนำ และมีผู้นำชุมชน ผู้อาวุโสในชุมชน ตลอดจนชาวบ้านในชุมชนเป็นที่ปรึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้บุคคลภายนอกได้รู้จักอย่างกว้างขวาง มีการบันทึกบทเพลง และทำเป็นเอกสารให้ความรู้ประกอบ มีแผนงานและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านวัฒนธรรมที่ถูกต้องตามหลักประเพณีให้กับเยาวชนในชุมชน และควรมีการจัดชั่วโมงเรียนปฏิบัติเครื่องดนตรี หรือขับร้องดนตรีชาติพันธุ์ให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่มีเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ศึกษาอยู่


Musical Wisdom of Tai Kheun, Tai Lue, Lahu in Bandu Municipality in Chiang Rai Province.

This research was the quality research by using the concept and the theory of ethnomusicology. The purposes of this research aimed to study musical wisdom of ethnic groups in the area, to study social and cultural preservation of the musical wisdom of ethnic groups in the area and to study the guidelines of the musical wisdom preservation of ethnic groups. The research instruments for collecting data consisted of recording equipments for recording pictures, sound, the table of the data collection plan, the guidelines for individual and group interview, and forum for public hearing. The data was collected by the field study in 2 villages in the area of Bandu Municipality, Chiangrai province consisted of Ban Doi Pu Kai village where having Lahu group and Ban Lao Pat Tha Na village where having many Tai Kheun and Tai Lue living there. The wisdom data was collected from musicians and the local wisdom experts in music who were accepted by people in the community. The in-depth interview, observation, forum were conducted and then the synthesis of the data was done by the community to recheck.

The findings of the study revealed that the musical wisdom of Tai Kheun that were found in the area were bird dance, “Mong Seung” dance, and Tai Kheun folk dance and the music used with the dance was “ Krup Sern or Sern singing”. The musical wisdom of Tai Lue found in the area was “Krup Lue or Lue singing”. The musical instrument used while singing was “Mai Khom flute” or Lue flute which was small and made of bamboo. The song used in Lue singing depended on the melody and the content could be changed depended on the cleverness of the singers in creating the song simultaneously. The musical wisdom of Lahu were the musical instruments consisted of or “Nor”, Lahu guitar or “Tersuekoy” ,bamboo flute or “Laekachui” and “Jako” drum which was made of wood and looked like the long drum.

In terms of the social and cultural preservation of musical wisdom of ethnic groups in the area were as follows; the factors enhancing the idea in creating the wisdom should be implemented by trying to present and to inherit their culture and tradition in the form of musical performances. The musicians went out of the village to work during not having any festival. Most of them stayed with their families and they are workers. The role of music in terms of the social preservation was presented in the content of music by presenting their own cultural activities. The costume in the performance was still original however it was a bit adapted to be modern. The dance form, language, costume and the other context were preserved to be the same as the original one.

The musical culture appeared in the area was not various as in the past because of the lack of musical instruments, and skillful musician, therefore; it caused problems in the musical inheritance of ethnic group because of the lack of seriously systematic and continuous inheritance. The guidelines for preserving ethnic group music wisdom in Bandu Municipality should be done by providing the stage for the ethnic groups to perform and publicize the art and musical wisdom of ethnic groups in Bandu Municipality regularly and obviously. The learning management should be provided for the youth in the area to study the musical wisdom continuously.

The strategies for preserving ethnic group music wisdom should be done as follows; organize the cultural conservation club in the local area by having the youth as the leader and the community leader, elder people and the general villager as the advisor, publicize the knowledge of ethnic group music to the public, record the songs and make the document to be the information for the public. The plan and the process for transmission the correct cultural knowledge for the youth in the community should be done. Moreover, the musical instrument and the ethnic singing should be taught for ethnic group young generations in schooling system.

Article Details

How to Cite
อินทนิเวศ อ. (2014). ภูมิปัญญาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน ไทลื้อ และลาหู่ ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย. Area Based Development Research Journal, 6(3), 107–122. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/96965
Section
Research Articles