การพัฒนาของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล จากวัสดุเหลือใช้ ในอุตสาหกรรมการผลิตงานไม้

Main Article Content

ราเชนทร์ สุขม่วง
จิรวัฒน์ พิระสันต์
นิรัช สุดสังข์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงในด้านความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล ที่มีต่อการออกแบบ ของที่ระลึก 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล จากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการ ผลิตงานไม้ 3) เพื่อพัฒนาของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล จากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตงานไม้ 4) เพื่อ ประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการพัฒนารูปแบบของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริ มงคล จากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตงานไม้ ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาแหล่งข้อมูลในด้านคุณภาพประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าประเภทไม้และด้านความพึงพอใจประเมินโดยนักท่องเที่ยว ในตำบล เมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยมีประมาณ 5,000 คนต่อสัปดาห์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวใน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 98 คน ตามตารางสำเร็จรูปของ Yamane ความคลาดเคลื่อน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์หาข้อมูลการหาค่ากรณีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ตัว แปรต้น คือ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตงานไม้ ตัว แปรตาม คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจของผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคล หลังจากการพัฒนา การเก็บข้อมูลทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการใช้แบบสอบถาม ทำการแปรผล วิเคราะห์ค่าสถิติและได้ของที่ระลึกเป็นไม้แกะสลักรูปปลาที่มีความหมายทางสิริมงคล จำนวน 5 ชุด ชุดละ 2 ชิ้น รวมทั้งหมด 10 ผลิตภัณฑ์ ผลการประเมินด้านคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่มีต่อผลิตภัณฑ์พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจ ด้านคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลิตภัณฑ์ชุดที่ 4 มีคุณภาพในการผลิตมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.39 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยแบบที่ 6 ปลา ตะเพียน มีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50

 

Development of Souvenirs through Auspicious Beliefs from Recycled Materials in Wood Industry.

The purpose of the research as: (1) study the relevance or beliefs about the auspicious that effect the design to souvenirs, (2) to learn about the production process that souvenirs through auspicious beliefs from recycled materials in wood industry, (3) develop into the production process that souvenirs through auspicious beliefs from recycled materials in wood industry, (4) assess quality of production and customer satisfaction’s to the development of the souvenirs through auspicious beliefs from recycled materials in wood industry. The group of people in this research. In terms of quality assessment by design professionals, manufacturers, suppliers of wood products category and satisfaction by the tourists in Muangkao subdistrict, Muang district, Sukhothai province, by about 5,000 people per week. The sample for this research are 98 tourists in Muangkao subdistrict, Muang district, Sukhothai province. This is designed according to the Taro Yamane table at 10% variation by accidental sampling. The statistics are used to analyse the information about how to calculate the value in case of one-simple test. The independent variable is the souvenirs through auspicious beliefs from recycled materials in wood industry. The dependent variable is the satisfaction on the quality of the souvenir products evaluator after the product development. The data were collected from interviews, non-participant observation and questionnaires. Then the collected data were processed and the statistics were analysed and receives souvenirs wooden carved fish through auspicious beliefs of 5 sets of 2 pieces with total of 10 products. Assessment of the quality by design professionals, manufacturers and suppliers of wood products found that overall satisfaction is the highest quality. The set 4 has quality in the production the most quality in so mean value of 4.78 standard deviation 0.39 flat. Assessment of satisfaction of tourists found that overall satisfaction is the highest quality. The most satisfaction is type 6 Tapean fish (Red-tail tinfoil barb) so mean value of 4.42 standard deviation 0.52 flat.

Article Details

Section
บทความวิจัย