การศึกษาผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ชโรธรณ์ ทิพย์อุปถัมภ์
นิรัช สุดสังข์
สิริมาส เฮงรัศมี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างสรรค์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ เชิงนิเวศเศรษฐกิจก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) เพื่อ ประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ชั้นปี 2 คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 40 คน ที่เรียนรายวิชา 704241 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ 1 (Package Design I) ภาคเรียนตอนปลาย ปีการศึกษา 2555 ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา ของการศึกษาผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงนิเวศเศรษฐกิจผ่านบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี โดยในส่วนของเนื้อหาและภาพประกอบโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.14 รองลงมา คือแบบทบทวนเนื้อหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 และกิจกรรมการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ตามลำดับ และแบบประเมินคุณภาพด้านการออกแบบบทเรียนฯ ด้านการออกแบบกราฟิกบนบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.17 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 รองลงมาคือด้านกิจกรรมการสื่อสารของ บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.08 และด้านความสอดคล้องของการออกแบบ บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามหลักการการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ตามลำดับ ผลการ เปรียบเทียบคะแนนการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงนิเวศเศรษฐกิจก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านบทเรียนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 2.82 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 ส่วน คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 3.93 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41 ซึ่งสรุปได้ว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนฯ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง การ ออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ โดยการเลือกใช้ภาพประกอบได้อย่างน่าสนใจและเหมาะสมกับเนื้อหามี ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.72 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ขนาดภาพประกอบชัดเจน และเหมาะสมรองลงมามีค่าเฉลี่ย 4.67 ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 และการนำความรู้ไปใช้มีค่าเฉลี่ย 4.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 ตามลำดับ จากการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความพึงพอใจของผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์ระดับ (3.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้าน

 

A STUDY OF THE EFFECTIVENESS IN ECO-CREATIVE PACKAGING DESIGN VIA WEB-BASED INSTRUCTION FOR UNDERGRADUATE STUDENTS

This research aims 1) to design the web-based instruction about Eco-Creative Packaging Design for undergraduate students 2) to compare the achievement of the undergraduate student’s design between before and after they finished Eco-Creative Packaging Design lesson via web-based instruction 3) to evaluate the student’s satisfaction with the web-based instruction of Eco-Creative Packaging Design lesson for undergraduate students. 40 undergraduate students enrolled in the 2ndYear of Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Product and Package Design, Department of Architecture, Naresuan University are used in this research. The students were chosen using purposive sample from the group currently studying in 704241 Packaging Design I at the end of 2012 semester. The content of the web-based Instruction in the topic of Eco-Creative Packaging Design for undergraduate students was examined beforehand. In terms of content and illustrations, the maximum mean is 4.54 with the average standard deviation of 0.14. The reviewing session has the mean of 3.89, with the average standard deviation of 0.51. Lastly, learning activities are evaluated 3.78 for the mean and the average standard deviation of 0.38. In terms of quality assessment about the graphic design of the web-based Instruction in Eco-Creative Packaging Design for undergraduate students, the maximum mean is 4.17 with the average standard deviation of 0.60. The communication activities of the web-based Instruction in Eco-Creative Packaging Design for undergraduate students, having the mean of 4.05 with the average standard deviation of 0.08 and the congruence between the learning expectation get the mean of 3.78 and the average standard deviation is 0.38 consecutively. The comparison of student’s achievements from before and after learning Eco-Creative Packaging Design via web-based instruction through the use of Pre-Test and Post-Test show that the Pre-test has the mean of 2.82 with the average standard deviation of 0.44 and the mean of Post-Test is 3.93 with the average standard deviation of 0.41. This can be concluded that the students who learned through the web-based Instruction in Eco-Creative Packaging Design for undergraduate students has a significant statistical progressive level of 0.05, comparing between the results of the Pre-Test and Post-Test. The chosen group shown their highest satisfaction from learning via the web-based Instruction in Eco-Creative Packaging Design for undergraduate students on the use of illustrations. Most of the students find that the illustrations are attractive and fit to the content. This results on the maximum mean of 4.72, with the average standard deviation of 0.51. The visibility of illustrations according to its sizes and clearness has the mean of 4.67 with the average standard deviation of 0.61. The applicability of the acquired knowledge has the mean of 4.55 with the average standard deviation of 0.75 consecutively. In conclusion, the level of student’s satisfactions are higher than standard level (3.50) and having a significant statistical level of 0.05 in every aspects.

Article Details

Section
บทความวิจัย