ศึกษาและพัฒนาเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิล

Main Article Content

พลอยไพลิน นารี
อุดมศักดิ์ สาริบุตร
นพคุณ นิศามณี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิล 2) ทดสอบประสิทธิภาพของเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิลตามมาตรฐาน( มอก. 1154 –2536 ) 3) ประเมินความพึงพอใจของครู และครูผู้ช่วยที่มีต่อเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิล กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบสอบถามประเมินความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการออกแบบ ด้านการผลิตและด้านวัสดุ (2) เครื่องทดสอบประสิทธิภาพเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็ก ปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิล (3) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของครูและครูผู้ช่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1) การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโดยรวมคะแนนพอใจในรูปแบบที่ 2 อยู่ในระดับมาก ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.16 )

2) ผลทดสอบประสิทธิภาพเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิล ผ่านการทดสอบทุกด้าน ซึ่ง ประกอบด้วย (1) ลักษณะทั่วไป พื้นผิวที่สัมผัสได้ง่าย ต้องเรียบเกลี้ยง ปราศจากตำหนิหรือข้อบกพร่องใดๆ ที่อาจทำให้เกิด อันตรายต่อเด็ก ขอบหรือมุมเหลี่ยมต้องมนไม่มีคม ชิ้นส่วนต่างๆ ของเตียงต้องออกแบบให้ยึดติดกันแน่น และเมื่อประกอบเข้า ด้วยกันแล้ว ต้องไม่มีส่วนใดหลวมคลอนอันอาจจะหลุดออกจากกันได้ (2) คุณสมบัติทางกลต้องเสถียรภาพ โดยขาเตียงด้านตรง ข้ามกับที่กันเลื่อนต้องไม่ยกขึ้นจากพื้น (3) คุณลักษณะทางเคมีของสารเคลือบผิว ค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

3) ความพึงพอใจของครูและครูผู้ช่วยที่มีต่อผลิตภัณฑ์ด้านรูปลักษณ์และคุณภาพของเตียงนอนพักกลางวันสำหรับเด็ก ปฐมวัยจากกระดาษรีไซเคิล อยู่ในระดับมาก ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.19)

 

Study and Development of “Crib for Siesta” by Recycled Paper Material

The purposes of this research were : 1) to conduct a study & development of lunch break bed for early childhood children from recycle paper 2) to conduct an effectiveness test of the lunch break bed for early childhood children from recycle paper in accordance with the standard (Thai Industrial Standard 1154- 2536) 3) to evaluate the satisfaction level of the teachers and assistant teachers towards the lunch break bed for early childhood children from recycle paper. There were two sampling groups. The devices instrumental for data collection were comprised of (1) a questionnaire form to evaluate the opinions of 3 aspects comprising of design aspect, production aspect, material aspect; (2) the test devices of the crib for siesta early childhood children from recycle paper; (3) The Questionnaire Form to evaluate the satisfaction level of the teachers and assistant teachers. Statistics used in the data analysis were percentage, average (mean) and standard deviation.

The results of the research were with the following findings:

1) The evaluation of the overall opinions of the design experts selected rating Format of No. 2 with the satisfaction marks level as high ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.16 )

2) The result of the effectiveness test of the lunch break bed for early childhood children made from recycle paper passed through the test of all aspects which comprising of : (1) The general appearance shall be with easily touchable, evenly smooth, free from the defects or flaws which can be endangering to children, the frames or ridges must be round, no sharpness, all parts of the bed of which must be designed to firmly coupled or fastened together. Once fully assembled together, no parts shall be loose and likely to fall apart. (2) Mechanical stability property. the bed posts opposite with the fall/sliding prevention shall not lift up from the ground/floor. (3) Chemical property aspect. the solution extracted from surface coating materials shall not exceed stipulated standard

3) The satisfaction of the teachers and assistant teachers towards the products in respect of appearance and quality of siesta bed for early childhood children made from recycle paper was of the a high ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.19)

Article Details

Section
บทความวิจัย