การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

กาญจนา แย้มเสาธง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร บัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตร สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตามระบบรับเข้าศึกษาระหว่างระบบกลาง (Admission) ระบบรับตรง (Quota) และระบบรับตรง (โครงการพิเศษ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร บัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2–5 ภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2554 จำนวน 158 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากรทั้งหมด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามนำ ข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติคำนวณหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression method) แบบ Stepwise และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า มี 3 ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ตัวแปรด้านพฤติกรรมการเรียนของนิสิต ตัวแปรด้านสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา และตัวแปรด้านความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มเพื่อนกับนิสิต

2. นิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ผ่านการสอบ คัดเลือกเข้าศึกษาจากระบบกลาง (Admission) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาจากระบบ รับตรง (โครงการพิเศษ) และระบบรับตรง (Quota)

 

The Study of the Factors Affecting the Learning Achievement of the Undergraduate Students of the Faculty of Architecture, Naresuan University

Based on two main factors, this research: 1) examines the factors that affect an academic achievement at undergraduate level examination; and 2) compares the academic accomplishment of the student who came from different schemes of enrollment, which are Admission, Quota and Direct- Entry matriculation.

The samples of this study came from by specific population of the undergraduate students at the Faculty of Architecture, Naresuan University. The total of 158 students from the sophomores to seniors participated in this research in 2011 during the second semester. The method of data collection employed questionnaire Statistics Package for the Social Sciences (SPSS) was subsequently used to find out the indicators including mean ( \inline \dpi{80} \bar{X} ) and standard deviation (SD), before utilize Stepwise Multiple Regression Method and One-way Analysis of Variance to analyze the findings.

The analysis of the results reveals that three main variables, including the student’s learning behavior, learning environment and interrelation between them can be concluded as the crucial factors affecting their academic achievement.

In sum, the statistic studies further disclose that the students who have enrolled in the faculty by Admission program have completed the examination with a higher score than those accepted by Quota enrollment, whereas the Direct-Entry’s students were the lest academically competent group.

Article Details

Section
บทความวิจัย