การศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านศิลปหัตถกรรมของกลุ่มทำมีดภาคกลาง

Main Article Content

ธวัช พะยิ้ม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการ การผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านศิลปหัตถกรรมของกลุ่มทำมีดภาคกลาง วิธีดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยลงปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อศึกษาข้อมูล จากการสัมภาษณ์ สังเกต และแบบสอบถาม ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านศิลปหัตถกรรมของกลุ่มทำมีดภาคกลางส่วนใหญ่จะได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มชุมชน ดังนี้ กลุ่มทำมีดช่างแขก ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีลักษณะเด่นคือ คุณภาพความแข็งแรงของเนื้อเหล็ก ความสวยงามของด้ามที่ทำจากเขาสัตว์ กลุ่มทำมีดอรัญญิก ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเด่นในการทำมีดดาบ และสลักลาย กลุ่มทำมีดลุงพร ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มีลักษณะเด่นคือความแข็งแรงของตัวมีด ด้าม ฝัก เหมาะสมต่อการใช้งานหนัก และกลุ่มทำมีดโบราณช่างชลอ ตำบลน้ำรอบ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ลักษณะเด่นคือ กรรมวิธีการผลิตแบบโบราณ มีดมีความเหมาะสมต่อการใช้งานด้านการเกษตร และในชีวิตประจำวัน การสร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรม มีความเป็นเอกลักษณ์แสดงความเป็นพื้นถิ่นของแต่ละชุมชน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างตามความรู้ทักษะประสบการณ์ ส่งผลให้เกิดลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชนการทำมีดของภาคกลาง


A study of community handicraft products of knife - making group in the middle region of Thailand

A study of community handicraft products of knife - making group in the middle region of Thailand. Its object is to select the basic data in which based on the analyses of the difference of each group for conduct the field study research in order to proposing the development of the products. The method of research, the researcher to get the data by interview, survey and dealing out questionnaires. The result of study was found that the community handicraft products of knife - making chang-cak group in the middle region of the country, most craft people have been passed on knowledge and skill by their ancestors who have the symbol of each group. Cak group, Uthaithani, has the distinctive feature: the strength of steel, the beauty of the handles made of horns. Aranyik group, Ayuthaya, has the distinctive quality in making and decoration engraving sculpture. Lung-Poun group, Nakhow Sawan, has the distinctive qualities : the durable of the knife, the handle and the cases which are suitable for hard working. Bolan Chalore group, Uthaithani, has distinctive feature: the procedure of production in ancient technique, the knifes are suitable for the agricultural and daily life works. 

The creation of knife - making handicraft has the self uniqueness, in which it can identify several local characteristice of each community. Each group has the difference according to their knowledge, skills and experiences caused the distinctive quality of knife,as the community handicraft products in the middle region of Thailand.

Article Details

Section
บทความวิจัย