การศึกษาและพัฒนาศิลปหัตถกรรมผ้าทอลายโบราณบ้านผาทั่ง เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสินค้า จังหวัดอุทัยธานี ประเภทชุดบนโต๊ะอาหาร

Main Article Content

สุจินันท์ ดาวเดือน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะถิ่นของศิลปหัตถกรรมผ้าทอพื้นเมืองบ้านผาทั่ง เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสินค้า จังหวัดอุทัยธานี เพื่อออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสินค้าประเภทชุดบนโต๊ะอาหาร โดยนำผ้าทอพื้นเมืองบ้านผาทั่งมาพัฒนาเข้ากับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสินค้าประเภทชุดบนโต๊ะอาหาร ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้ที่สนใจสินค้า และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสินค้าจังหวัดอุทัยธานี ประเภทชุดบนโต๊ะอาหาร ที่ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
ผลการวิจัยพบว่าพบว่า (1)กลุ่มทอผ้าบ้านผาทั่งมีปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าทอยังขาดการพัฒนาให้แพร่หลายเท่าที่ควรเนื่องจากข้อจำกัดในการออกแบบและคุณภาพที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การขาดความรู้และทักษะในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขาดแคลนเงินทุน และการบริหารจัดการกลุ่มยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นสมาชิกกลุ่ม จึงมีความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น (2)เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามด้านความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการศึกษาข้อมูล 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1. ศึกษาความต้องการในการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ชุดบนโต๊ะอาหาร
ประกอบด้วย ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้าเช็ดปาก และผ้ารองแก้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ การออกแบบชุดบนโต๊ะอาหารใช้โทนสีน้ำตาลทั้งหมด ลวดลายที่ใช้ทางผู้วิจัยนำเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าทอลายโบราณซึ่งมีลักษณะเด่นของลวดลายผ้าทอ และต้องการอนุรักษ์ลวดลายผ้าทอโบราณ และนำลายผ้าทอลายโบราณมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ลวดลายผ้าทอชุดบนโต๊ะอาหารมี 4 ลาย คือ ลายพญานาคล้อมเพชร ลายสร้อยสา ลายพญานาคล้อมเพชรเล็ก และลายข้างกระแต ทางผู้วิจัยได้นำโทนสีและลวดลายผ้าทอดังกล่าวมาออกแบบชุดบนโต๊ะอาหารดังนี้
1.ผ้าปูโต๊ะ ลักษณะของผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1.80 x 100ซม. มีลวดลายตรงกลาง และโดยรอบผืนผ้า 
2.ผ้ารองจาน ลักษณะของผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 30 x 45 ซม. มีลวดลายโดยรอบ 
3.ผ้าเช็ดปาก ลักษณะของผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 30 x 45 ซม. มีลวดลายโดยรอบ เป็นผ้า ซับน้ำได้ดี ไม่ลื่น เพื่อให้สามารถพับเป็นรูปต่าง ๆ วางบนโต๊ะอาหารเป็นการประดับโต๊ะ
4.ผ้ารองแก้ว ลักษณะของผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 11 x 11 ซม. มีลวดลาย โดยรอบเป็นผ้าไม่ลื่น 
ระยะที่ 2. ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ออกแบบชุดบนโต๊ะอาหาร 2 แบบ นำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากร ประกอบด้วย ผู้ผลิต 14 คน ผู้เชี่ยวชาญ 6 คน และผู้สนใจสินค้า 100 คน ผลการวิจัยพบว่า แบบที่ได้รับเลือก คือ แบบที่ 1 โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมาก


The Study on the Development of Woven Cloth with Antique Pattern into Table-cloth Set Handicraft as Commercial Products at Pa Tang Village in Uthai Thani Province

This research aims of the study. To study the characteristics of local native arts and crafts Textile Ban Pha Tang. The information to be used in product development, craft goods. Uthai Thani Province. To design and develop a set of products, handicraft products, tableware. By the local textile Ban Pha Tang develop products with craft products, dinnerware set. To meet the needs of target groups. And to evaluate the satisfaction from manufacturers. Those interested in product. And experts. To form products with craft products, Uthai Thani. Set of tableware. The research design and develop new To guide the manufacturer can be used to advantage.

The results showed that showed that (1) Ban Pha Thang Textile Group. Concerned about the lack of textile products to develop as widely as it could be limitations in the design and quality is not consistent with market demand. Lack of knowledge and skills to improve product development. The lack of capital. And management groups are not effective enough. So group members. It requires knowledge and skills up (2) instruments used were the interviews and questionnaires on satisfaction from the sample. Operation of two data phases.
Phase 1. Education needs in product design, pattern dinnerware set. 
Includes tablecloth fabric mat and cloth napkins Coaster. Analysis by percentage. And the analysis data to determine the concept design. Dinnerware set designed to tone brown all The research design used in the unique woven pattern that is characterized by its traditional textile designs. And want to preserve traditional woven patterns. And the traditional pattern woven designs to add value to the product. Woven pattern dinnerware set is the fourth pattern pattern pattern Diamond Necklace Sa Naga Naga Diamond pattern small And designs next gong. The author has brought color and pattern woven design kit is based on the following table. 
1. Tablecloth fabric characteristics of a rectangular size patterned 1.80 x 100 cm in the middle. And around the cloth. 
2. Napery nature of the cloth rectangle size is 30 x 45 cm pattern around. 
3. Characteristic of cloth napkins are rectangular size 30 x 45 cm surrounded by a patterned cloth mop water well is not slippery so they can form different layers are placed on a table decorated table. 
4. Cloth Coaster features a square of fabric size 11 x 11 cm pattern around Fabric is not smooth. 
Phase 2. Assess satisfaction towards the product design. The research was conducted. 
Set design for the dining room table to ask two samples consist of 14 persons expert produced six people and goods like 100 results found. Form to be selected is an effective way to evaluate the satisfaction level is average and very. 

Article Details

Section
บทความวิจัย